การเจริญเติบโต การออกดอกติดผลและการพัฒนาของผลชาน้ำมันในภาคเหนือตอนบน
#1
การเจริญเติบโต การออกดอกติดผลและการพัฒนาของผลชาน้ำมันในภาคเหนือตอนบน
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, ศิริพร มะเจี่ยว, สมพล นิลเวศน์ และทิวาพร ผดุง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1, ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง และสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          ชาน้ำมัน (Camellia oleifera Abel) มีถิ่นกำเนิดและปลูกในสาธารณรัฐประชาชน ได้นำมาปลูกในประเทศไทยมากกว่า 4,000 ไร่ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมาการศึกษาพัฒนาการของใบการออกดอกติดผลและการพัฒนาของผลชาน้ำมันในภาคเหนือตอนบนเพื่อใช้แนะนำเกษตรกรและเป็นแนวทางวิจัยพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง (โป่งน้อย) เชียงใหม่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ระหว่างปี 2556 - 2557 โดยใช้ต้นชาน้ำมันพันธุ์อินทนนท์ C-O-E หูหนาน#1 และกวางสี#2 พันธุ์ละ 10 ต้น จากการศึกษาพบว่า ความกว้างและความยาวของใบเพิ่มขึ้นแบบ simple sigmoid curve ใช้เวลาเฉลี่ย 28.5 วัน จนใบขยายใหญ่เต็มที่ การเปลี่ยนแปลงค่า Fv/Fmratio และ SPAD unit ของใบในรอบปีไม่แตกต่างกันและทิศทางการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนจึงอาจสรุปได้ว่าปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบและความเครียดของพืชไม่ใช่ปัจจัยหลักควบคุมในการการออกดอกของชาน้ำมัน ปริมาณ TNC ในใบเริ่มลดลงจากเดือนมกราคมจนถึงพฤษภาคมแล้วเพิ่มขึ้นตามลำดับจนถึงเดือนตุลาคม ในขณะที่ปริมาณ TN ในใบมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณในรอบปีน้อยมาก ปริมาณ TNC ในใบจึงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งในการควบคุมการออกดอกของชาน้ำมัน การติดผลค่อนข้างต่ำโดยพันธุ์ C-O-E หูหนาน#1 และกวางสี #2 ติดผลเฉลี่ย 20.93 23.68 และ 22.00% ตามลำดับ น้ำหนักเมล็ด น้ำหนักเปลือกและน้ำหนักผลแต่ละพันธุ์แตกต่างกันและการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักเป็นแบบ simple sigmoid curve ซึ่งใช้เวลา 8-9 เดือนพัฒนาจนผลแก่เต็มที่ ผลพันธุ์ C-O-E หูหนาน#1 และกวางสี#2 มีจำนวนเมล็ด 4.80 3.87 และ 4.33 เมล็ด/ผล ตามลำดับ 


ไฟล์แนบ
.pdf   219_2557.pdf (ขนาด: 434.37 KB / ดาวน์โหลด: 2,946)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม