การจัดการธาตุอาหารของกาแฟโรบัสตาตามค่าการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินและพืช
#1
การจัดการธาตุอาหารของกาแฟโรบัสตาตามค่าการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินและพืช
ทิพยา ไกรทอง, ยุพิน กสินเกษมพงษ์, ผานิต งานกรณาธิการ และอรพิน หนูทอง

          การจัดการธาตุอาหารของกาแฟโรบัสตาตามค่าการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินและพืช ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี กรรมวิธีที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยมูลวัว 20 กก./ไร่  กรรมวิธีที่ 3  ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน + พืช (N 450 กรัม + P2O5 240 กรัม + K2O 690 กรัม/ต้น/ปี) ในฤดูกาลผลิตปี 2556/57 เพิ่มปุ๋ย N จาก 450 กรัมเป็น 870 กรัม + P2O5 240 กรัม เป็น 520+ K2O 690 กรัมเป็น 1100 กรัม/ต้น/ปี กรรมวิธีที่ 4 ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรม (GAP) (ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-17  600 กรัม/ต้น/ปี + 46-0-0  100 กรัม/ต้น/ปี +ปุ๋ยมูลวัว 10 กก./ต้น/ปี) และกรรมวิธีที่ 5 ใส่ปุ๋ยตามวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร (ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 + 46-0-0  อัตราละ 200 กรัม/ต้น) การให้ปุ๋ยตามกรรมวิธีต่างๆร่วมกับการจัดการดินและวิเคราะห์ใบพบว่า กรรมวิธีที่ 3 การใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินและพืช และกรรมวิธีที่ 4 การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรม เป็นกรรมวิธีที่ให้ผลดีที่สุดการเจริญเติบโต ทั้งด้านความสูง ขนาดรอบโคนและขนาดทรงพุ่ม องค์ประกอบของผลผลิต และคุณภาพของเมล็ด พบว่าแนวโน้มน้ำหนัก 100 เมล็ดมากกว่ากรรมวิธีอื่นๆ ผลผลิตเฉลี่ยกรรมวิธีที่ 4 มากกว่ากรรมวิธีที่ 3 แต่ในแง่ของต้นทุนและผลตอบแทนพบว่า กรรมวิธีที่ 3 ให้ผลตอบแทนสุทธิสูงสุดเมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่น ซึ่งต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงาน และค่าปุ๋ย ถ้าใข้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน + พืชแล้วจะลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลงได้ ส่งผลให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเช่นกัน


ไฟล์แนบ
.pdf   153_2557.pdf (ขนาด: 316.25 KB / ดาวน์โหลด: 916)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม