การผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพในเขตภาคกลาง
#1
การวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพในเขตภาคกลาง
จันทนา ใจจิตร, ธิติยา สารพัฒน์, นรินทร์ พูลเพิ่ม, วลัยภรณ์ ชัยฤทธิไชย, พจนา ตระกลูสุขรัตน์, วันชัย ถนอมทรัพย์, มัลลิกา นวลแก้ว, 
ไตรเดช ข่ายทอง, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, เสาวคนธ์ วิลเลี่ยมส์, มนตรี เอี่ยมวิมังสา, อุดม วงศ์ชนะภัย, พจนา ตระกูลสุขรัตน์, 
ณรงค์ แดงเปี่ยม, สุรพล สุขพันธ์, สุพัตรา อินทวิมลศรี, ปัญญา ธยามานนท์, ประสงค์ วงศ์ชนะภัย, พรพิมล อธิปัญญาคม, 
นลินี ศิวากรณ์ และเสงี่ยม แจ่มจำรูญ

โครงการวิจัยที่ 1 วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง
ธิติยา สารพัฒน์, พจนา ตระกลูสุขรัตน์, ไตรเดช ข่ายทอง, มนตรี เอี่ยมวิมังสา, ณรงค์ แดงเปี่ยม, ปัญญา ธยามานนท์, เสงี่ยม แจ่มจำรูญ, นรินทร์ พูลเพิ่ม, วันชัย ถนอมทรัพย์ และอดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด

          การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่งเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์ โดยมีการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมฝรั่งที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร รวบรวมพันธุ์ฝรั่ง จำนวน 27 พันธุ์ ทำการบันทึกข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ฝรั่งได้จำนวน 10 พันธุ์ คือ แปูนสีทอง กลมสาลี่ สาลี่ทอง กิมจู เพชรพูทอง แดงหวาน พจ.13-10 สามสีกรอบ แดงฟิลิปปินส์ และแดงบางกอก เพื่อให้ได้พันธุ์ฝรั่งที่เหมาะสมต่อการบริโภคผลสด จึงได้ดำเนินปรับปรุงพันธุ์ฝรั่งเพื่อการบริโภคสดโดยวิธีการผสมข้ามพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ฝรั่งลูกผสมเนื้อสีขาวและฝรั่งลูกผสมเนื้อสีม่วงที่ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี เหมาะสำหรับการบริโภค โดยการผสมข้ามพันธุ์ฝรั่งจำนวน 14 คู่ผสม ได้กล้าฝรั่งลูกผสมเนื้อสีขาว 1,120 ต้น และฝรั่งลูกผสมเนื้อสีม่วง 102 ต้น คัดเลือกพันธุ์ฝรั่งตามหลักเกณฑ์การคัดเลือก สามารถคัดเลือกพันธุ์ฝรั่งเนื้อสีขาวจากคู่ผสม 7 คู่ผสม และในส่วนของปัญหาหลักที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียของผลผลิต ณ ปัจจุบันนี้ คือ โรคเหี่ยวและโรครากปม ซึ่งโรคเหี่ยวทำให้ฝรั่งแสดงอาการใบไหม้ ยอดเหี่ยว กิ่งแห้ง ต้นทรุดโทรม โคนต้นและรากถูกทำลาย ทำให้ฝรั่งยืนต้นตายเป็นจำนวนมากและเชื้อโรคสามารถลุกลามได้รวดเร็ว สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Nalanthamala psidii ในส่วนของการระบาดของโรครากปมของฝรั่ง มีสาเหตุจากไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) โรครากปมทำให้ต้นฝรั่งที่ถูกทำลายมีอาการแคระแกร็นใบเหลืองซีด ทรงพุ่มบาง ต้นโทรม ผลผลิตลดลงทั้งขนาดและปริมาณ ซึ่งทั้งสองโรคนี้เกิดเป็นพื้นที่กว้างโดยเฉพาะ อ.บ้านแผ้ว จ.สมุทรสาคร อ.สามพราน จ.นครปฐม และ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็นพื้นที่การระบาดหนักและเป็นพื้นที่หลักในการปลูกฝรั่ง กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จึงได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารต่างๆ ที่ใช้ในการจัดการทั้งโรคเหี่ยวและหรือโรครากปม สำหรับโรคเหี่ยวของฝรั่ง จากผลการทดลองพบว่า มี สาร 10 ชนิด ที่มีประสิทธิภาพดีในในการควบคุมการเจริญของเชื้อราดังกล่าวที่ ระดับความเข้มข้น 500 ppm ในระดับห้องปฏิบัติการ คือ Prochloraz 45%EC Benomyl 50%WP Pyraclostrobin 25%WV Etridiazole 25%SC Thiram 80%WG Tetraconazole 40%EW Difenoconazole 25%EC Tridemorph 75%SC Carbendazim 50%WP Myclobutanil 25%EC และโรครากปมสามารถใช้สาร abamectin 1.8%EC fipronil 5%SC carbofuran 3%GR dinotefuran 1%GR ภูไมท์ โดโลไมท์ เชื้อรา Trichoderma harzianum และ Paecilomyces lilacinus ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในสวนฝรั่งที่มีการระบาดของโรครากปม เพราะสามารถลดประชากรของไส้เดือนฝอยรากปมได้ ถึงแม้การใช้ ภูไมท์มีค่าอัตราการขยายพันธุ์ของไส้เดือนฝอยมากกว่าหนึ่งแต่ดีกว่าเมื่อเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่ได้ใช้สารซึ่งไส้เดือนฝอยสามารถที่จะขยายพันธุ์ได้ถึง 5.83 เท่า เพื่อให้ได้วิธีการควบคุมเชื้อโรคให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำความเสียอย่างยั่งยืนจึงได้คัดเลือกต้นตอฝรั่งที่ทนทานหรือต้านทานต่อโรคเหี่ยวและโรครากปมฝรั่งโดยคัดเลือกต้นตอฝรั่งพันธุ์ขี้นกต้านทานต่อไส้เดือนฝอยรากปม พบว่า จากต้นฝรั่งขี้นก 155 ต้น มี 5 ต้น ที่สามารถต้านทานต่อไส้เดือนฝอยรากปมได้ และคัดเลือกต้นตอฝรั่งพันธุ์พื้นเมืองต้านทานต่อเชื้อรา Nalanthamala psidii พบว่า จากต้นฝรั่งพันธุ์พื้นเมืองจำนวนจากจำนวน 110 ต้น มีจำนวน 13 ต้น ที่สามารถต้านทานต่อเชื้อรา Nalanthamala psidii ได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง


โครงการวิจัยที่ 2 การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตชมพู่
วลัยภรณ์ ชัยฤทธิไชย, มัลลิกา นวลแก้ว, เสาวคนธ์ วิลเลี่ยมส์, พจนา ตระกูลสุขรัตน์, สุพัตรา อินทวิมลศรี, พรพิมล อธิปัญญาคม และนลินี ศิวากรณ์

          เกษตรกรผู้ปลูกชมพู่มีความต้องการผลิตชมพู่ให้มีผลผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดปี มีคุณภาพสม่ำเสมอตลอดฤดูการผลิต และลดปัญหาผลเน่าเสีย ในปี 2554 - 2558 ได้ทำการทดลองเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี สำนักอารักขาพืช และสวนเกษตรกร กระจายการออกดอกติดผลให้ได้ตลอดปี ได้ทำการบังคับออกดอกทีละชุดห่างกัน 2 - 4 เดือน เพื่อให้ชมพู่ออกดอกได้ในช่วงเวลาต่างกัน และออกดอกติดผลอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ผลการทดลองพบว่า การบังคับดอกก่อนฤดูกาลทุกกรรมวิธีมีจำนวนรุ่นที่ออกดอกต่อเนื่อง 2 - 3 รุ่นจากรุ่นแรก ได้ผลผลิตมากกว่าการบังคับดอกหลังฤดูการออกดอกซึ่งมีการออกดอกต่อเนื่องได้ 0 - 1 รุ่น การพ่นสารแพคโคลบิวทราโซล 400 ppm (มก./ล.) ทั่วทรงพุ่มเพื่อบังคับดอก หรือการพ่นสารนี้ร่วมกับการพ่นปุ๋ย 0-52-34 (100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร) ให้จำนวนต้นที่ออกดอก จำนวนดอก/รุ่น ผลผลิต/รุ่น สูงสุดแต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของ 2 กรรมวิธีนี้ และให้ค่ามากกว่าการพ่นปุ๋ยสูตร 0-52-34 และการไม่พ่นสารใด ส่วนการเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้มีคุณภาพดีพบว่า การใช้สารจิบเบอเรลลิกแอซิด (GA3) ความเข้มข้น 30 ppm พ่นหลังดอกบาน 3 วัน หรือพ่นสารผสมแคลเซียมและโบรอน (Ca =40%w/v, B=0.3%w/v) อัตรา 10 มล. ผสมน้ำ 20 ลิตร หลังดอกบาน 14 วัน หรือใช้สารทั้ง 2 ชนิดนี้ พ่นตามระยะดังกล่าวข้างต้น ทั้ง 3 กรรมวิธีนี้ให้น้ำหนักผล ความหวาน มีค่าสูงสุดแต่ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ และมีค่ามากกว่าการไม่พ่นสารอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การเลือกไว้ผลที่มีอายุต่างกันไม่เกิน 7 วัน (1 - 7 วัน) ในต้นเดียวกัน ร่วมกับการพ่นสารจิบเบอเรลลิกแอซิดหรือร่วมกับสารผสมแคลเซียมและโบรอน ให้น้ำหนักผล ความหวาน และผลผลิต/ต้น/รุ่น มีค่ามากกว่าการไว้ผลที่ไม่ได้รับการพ่นสารใดๆ แต่การไว้ผลร่วมกับการพ่นสารผสมแคลเซียมและโบรอนมีแนวโน้มให้ค่าความหวาน และความแน่นเนื้อมากกว่ากรรมวิธีอื่น ส่วนวันจากดอกบานถึงวันเก็บเกี่ยวผลทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างทางสถิติ มีจำนวนวัน 52.43 - 55.52 วัน ส่วนการศึกษาปัญหาโรคผลเน่าของชมพู่ พบตัวอย่างชมพู่เป็นโรคผลเน่าจาก 22 สวน จำแนกได้เป็นเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Pestalotiopsis guepinii ได้ทำการทดสอบผลของสารสกัดจากพืชและสารปูองกันกำจัดโรคพืชต่อการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของชมพู่ทั้ง 2 ชนิด ในสภาพห้องปฏิบัติการพบว่า สารสกัดข่าด้วยตัวทำละลาย acetone และ hexane และสารสกัดชะพลูด้วย acetone สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคทั้ง 2 ชนิดได้ เช่นเดียวกับการใช้สารปูองกันกำจัดโรคพืชอะซอกซีสโตรบิน อะซอกซีสโตรบิน+ไดฟิโนโคลนาโซล แคปแทน แมนโคเซบ และโปรคลอราซ ตามอัตราความเข้มข้นที่แนะนำบนฉลาก ในปี 2558 ทำการทดสอบสารปูองกันกำจัดโรคพืช 4 ชนิด ที่สวนเกษตรกร คือ อะซอกซีส โตรบิน (25%W/V SC) อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, คาร์เบนดาซิม (50%W/V SC) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โปรคลอราซ (45%W/V EC) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และแมนโคเซบ (80%WP) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยมีกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่าเป็นกรรมวิธีควบคุม ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีพ่นด้วยสารอะซอกซีสโตรบิน (25%W/V SC) อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลการควบคุมโรคผลเน่าไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นด้วยโปรคลอราซ (45%W/V EC) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และแมนโคเซบ (80% WP) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่น้ำหนักรวมและจำนวนผลผลิตที่ได้มีมากกว่า ซึ่งกรรมวิธีพ่นด้วยสารทั้ง 3 ชนิด ให้ผลการควบคุมโรคดีกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นด้วยคาร์เบนดาซิม (50%W/V SC) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีควบคุมพ่นน้ำเปล่า


โครงการวิจัยที่ 3 วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโมโรเฮยะคุณภาพเพื่อการส่งออก จังหวัดราชบุรี
อุดม วงศ์ชนะภัย, สุรพล สุขพันธ์ และประสงค์ วงศ์ชนะภัย

          การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับการให้ผลผลิตโมโรเฮยะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำด้านการใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำ การใส่ปุ๋ยอัตรา 30-0-15 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ โมโรเฮยะจะให้ผลผลิตที่มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนสูงสุด คือ มีผลผลิตเฉลี่ย 2,841 กก./ไร่ มีรายได้เหนือต้นทุนผันแปร 24,180 บาท/ไร่ มีต้นทุนการผลิต 5.49 บาท/กก. และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อการลงทุนสูงสุดเท่ากับ 2.55 ส่วนดินที่มีอินทรียวัตถุสูง การใส่ปุ๋ยอัตรา 15-10-0 กก. N-P2O5-K2O/ไร่ จะให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,787 กก./ไร่ มีรายได้เหนือต้นทุนผันแปร 15,483 บาท/ไร่ มีต้นทุนการผลิต 5.34 บาท/กก. และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อการลงทุนสูงสุดเท่ากับ 2.62 นั่นคือ เมื่อลงทุนแล้วได้กำไร และมีความเสี่ยงน้อย ในด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานเพื่อให้ได้ผลผลิตโมโรเฮยะที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง พบว่าการผลิตโมโรเฮยะจะมีศัตรูพืชที่สำคัญ คือ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝูาย และหนอนกระทู้ผัก การป้องกันกำจัด หากสำรวจพบหนอนมากกว่า 1 ตัว/10 ต้น หนอนกระทู้หอมให้ใช้เชื้อ NPV (DOA BIO V1) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร หนอนเจาะสมอฝูายใช้เชื้อ NPV (DOA BIO V2) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร และหนอนกระทู้ผักใช้เชื้อ NPV (DOA BIO V3) อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร ซึ่งจะสามารถลดการใช้สารเคมีลงได้เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกรที่เน้นการใช้สารเคมี ในด้านคุณภาพและความปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ผลผลิตยอดโมโรเฮยะที่พบร่องรอยการเข้าทำลาย ส่วนใหญ่จะเกิดจากการเข้าทำลายของแมลง โดยเฉลี่ยการป้องกันกำจัดแมลงโดยวิธีเกษตรกรจะพบร้อยละ 5 และการป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสานจะพบร้อยละ 8 และในทั้งสองกรรมวิธีไม่พบสารพิษตกค้าง


ไฟล์แนบ
.pdf   223_2558.pdf (ขนาด: 3.25 MB / ดาวน์โหลด: 5,129)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม