การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแห้งแล้ง
#1
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแห้งแล้ง
ชุติมา คชวัฒน์

กิจกรรมที่ 1 การวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนทานแล้ง: อายุยาว

กิจกรรมที่ 2 การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนทานแล้ง: อายุสั้น (95-100 วัน)
สุริพัฒน์ ไทยเทศ, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, สุทัศนีย์ วงศ์ศุปไทย, ทัศนีย์ บุตรทอง, จำนงค์ ชัญถาวร, ชนันทวัฒน์ ศุภสุทธิรางกูล, กัญจน์ชญา ตัดโส, อานนท์ มลิพันธุ์, อารีรัตน์ พระเพชร, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, ปรีชา แสงโสดา, พินิจ กัลยาศิลปิน, นิภาภรณ์ พรรณรา, สายชล แสงแก้ว และสิทธิ์ แดงประดับ

          ปัญหาสภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นปัญหาที่สำคัญในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูปลูกต้นฝน การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีความทนทานแล้ง และมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นเพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะฝนทิ้งช่วงจึงเป็นสิ่งจำเป็น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมให้มีผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 หรือต่ำกว่าไม่เกินร้อยละ 5 มีความทนทานแล้ง และมีอายุเก็บเกี่ยวสั้น 95 - 100 วัน จำนวนอย่างน้อย 1 - 2 พันธุ์ สำหรับแนะนำสู่เกษตรกรปลูก ดำเนินการในปี 2554 - 2558 จากการประเมินผลผลิตตามขั้นตอนต่างๆ ในแหล่งปลูกข้าวโพดที่สำคัญของประเทศไทย สามารถคัดเลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่น NSX052014 ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,176 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,070 กก./ไร่ ร้อยละ 9 และในสภาพขาดน้ำในระยะออกไหม ให้ผลผลิต 720 กก./ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 61 เมื่อเทียบกับแปลงที่ได้รับน้ำสม่ำเสมอ) NSX052014 มีอายุวันออกไหมเฉลี่ย 53 วัน สั้นกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 (อายุวันออกไหม 55) มีความชื้นขณะเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 25.56 เปอร์เซ็นต์ (นครสวรรค์ 3 เท่ากับ 26.63 เปอร์เซ็นต์) ด้านเสถียรภาพผลผลิต NSX052014 ให้ผลผลผลิตสูงในสภาพแวดล้อมที่ดี มีการจัดการดี จึงเหมาะสำหรับแนะนำเป็นพันธุ์เฉพาะพื้นที่ ปัจจุบันพันธุ์ NSX052014 อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลสำหรับการยื่นเสนอขอรับรองพันธุ์เป็นพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงและมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นจากกรมวิชาการเกษตร

          นอกจากนี้ จากการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตลอดทั้งโครงการ ยังได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูง และอายุเก็บเกี่ยวสั้น ได้แก่ NSX111014 NSX111012 และ NSX111053 ซึ่งพันธุ์เหล่านี้จำเป็นต้องศึกษาลักษณะจำเพาะอื่นเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสนอขอรับรองพันธุ์และแนะนำสู่เกษตรกรในอนาคต

กิจกรรมที่ 3 การวิจัยลักษณะทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความทนทานแล้ง
ทัศนีย์ บุตรทอง, สุทัศนีย์ วงศ์ศุปไทย, สุริพัฒน์ ไทยเทศ, จำนงค์ ชัญถาวร, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, อมรา ไตรศิริ, กฤษณา ทวีศักดิ์วิชิตชัย, วลัยพร ศะศิประภา, สาธิต อารีรักษ์, พณัญญา พบสุข และปาริชาติ นนทสิงห์

          กิจกรรมการวิจัยลักษณะทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความทนทานแล้ง ดำเนินการในฤดูฝน และฤดูแล้ง ภายใต้ 2 สภาพ คือ สภาพให้น้ำสม่ำเสมอ และสภาพขาดน้ำในระยะออกไหม ตั้งแต่ปี 2554 - 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับความทนทานแล้ง และศึกษามวลชีวภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ทนแล้งในแต่ละระยะพัฒนาการการเจริญเติบโต เมื่อเปรียบเทียบมีความทนทานแล้ง ได้แก่ สายพันธุ์ [Nei452016-2 x Nei452026]-F2-B-B-B-4-2-B-B-B, [(KS23(S)C2-190-1-2-1-BBBB x PIONEER3006-4-1-3-1-BBB)-103-2-BBBBB x Nei452008]-F2-B-B-B-3-1-B-B-B, CTS011074/P31C4S5B-38-#-#-2-B-B-B-B/CML421-B-B-B-B-B, Nei462013, Nei462014, Nei542013, Nei532005 และ TakFa 1 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงและมีความทนทานแล้ง ได้แก่ พันธุ์ NSX052014, NSX112017 และ NSX111044 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับลักษณะทางสรีรวิทยาในสภาพขาดน้ำในระยะออกไหม ผลผลิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับจ้านวนฝักต่อต้น น้ำหนัก 100 เมล็ด ความกว้างฝัก ความยาวฝัก การปิดเปิดปากใบ ความเข้มสีเขียวของใบ และดัชนีพืชพรรณ (NDVI) แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับช่วงห่างระหว่างอายุวันออกไหมและวันออกดอกตัวผู้ คะแนนการแก่ของใบ คะแนนการม้วนของใบ และอุณหภูมิใบ แสดงให้เห็นว่าลักษณะผลผลิตขึ้นอยู่กับ ลักษณะทางสรีรวิทยาดังกล่าว ดังนั้นในการคัดเลือกสายพันธุ์หรือพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนทานแล้ง ควรพิจารณาคัดเลือกสายพันธุ์หรือพันธุ์ในสภาพขาดน้ำในระยะออกไหม ที่มีจ้านวนฝักต่อต้น ความกว้างฝัก ความยาวฝัก การปิดเปิดปากใบ ความเข้มสีเขียวของใบ และดัชนีพืชพรรณ (NDVI) ที่มีค่ามาก ในทางกลับกัน พิจารณาช่วงห่างระหว่างอายุวันออกไหมและวันออกดอกตัวผู้ คะแนนการแก่ของใบ คะแนนการม้วนของใบ และอุณหภูมิใบที่มีค่าน้อย เปอร์เซ็นต์การสูญเสียผลผลิตต่ำและดัชนีทนแล้งมากกว่า 1 การศึกษามวลชีวภาพของพัฒนาการการเจริญเติบโตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ทนทานแล้งในฤดูฝนพบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกปลายฤดูฝน มีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่น้อยกว่าข้าวโพดที่ปลูกในฤดูแล้ง เนื่องจากมีฝนตกชุกส่งผลให้การสะสมมวลชีวภาพ ตั้งแต่การสะสมน้ำหนักแห้งในส่วนต่างๆ ของข้าวโพด รวมทั้งปริมาณผลผลิตที่ได้มีปริมาณน้อย ในขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง มีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ การสะสมมวลชีวภาพในระยะต่างๆ จึงเพียงพอต่อการให้ผลผลิตที่มีปริมาณมากกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกปลายฤดูฝนทุกพัน


ไฟล์แนบ
.pdf   201_2558.pdf (ขนาด: 2.47 MB / ดาวน์โหลด: 5,355)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม