การพัฒนาการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างของวัตถุอันตรายทางการเกษตรให้ถูกต้อง แม่นยำ
#1
การพัฒนาการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างของวัตถุอันตรายทางการเกษตรให้ถูกต้อง แม่นยำตามมาตรฐานสากล
พนิดา ไชยยันต์บูรณ์

          โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างของวัตถุอันตรายทางการเกษตรให้ถูกต้อง แม่นยำตามมาตรฐานสากล มี 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 : การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้าง และกิจกรรมที่ 2 : การพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง การดำเนินงานของกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1.1 : การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารตกค้างในดินและน้ำ มีดังนี้ ศึกษาวิธีการตรวจวิเคราะห์ในตัวอย่างน้ำ ศึกษาสารกลุ่ม organophosphorus, organochlorine carbamate, pyrethroid, benzimidazole และ 2,4-D ส่วนวิธีการตรวจวิเคราะห์ในตัวอย่างดิน ศึกษาสารกลุ่ม organophosphorus, organochlorine และ pyrethroid, glyphosate, 2,4-D และ phenylurea ส่วนการดำเนินงานกิจกรรมที่ 1.2 : การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ศึกษาพืชที่มีปัญหาและมีสิ่งปนเปื้อนสูง ศึกษาในตัวอย่าง มังคุด พืชสมุนไพร (โหระพา และสะระแหน่) พืชตระกูลส้ม (citrus fruits) พืชน้ำมัน (ถั่วเหลือง) ชะอม ทุเรียน หอมแดง มะพร้าว และพริก กลุ่มที่ 2 ศึกษาสารที่มีความยุ่งยาก ศึกษาสาร spinetoram และสารอนุพันธ์ neonicotinoid, chlormequat, mepiquat, captan, folpet, chlorothalonil, dithiocarbamate, pyrazole, phenylurea, fipronil และ pymetrozine กลุ่มที่ 3 ศึกษาเพื่อขอการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ศึกษาสารกลุ่ม organophosphorus , organochlorines, pyrethroids และ carbamate และ สาร 99 ชนิด เพื่อขยายขอบข่ายวิธีวิเคราะห์ QuEChERs และใช้เป็น screening method และกลุ่มที่ 4 ศึกษาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การศึกษาความคงตัว (Stability) ในการเก็บรักษา สารมาตรฐานกลุ่ม organophosphorus, pyrethroid, carbamate, abamectin และกลุ่ม fungicide ส่วนการทดลองอื่นๆ ได้แก่ การพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผัก โดยใช้ GC/MS โดยใช้ Database ในการ screening ชนิดของสารในตัวอย่าง และการศึกษาประสิทธิภาพของการสกัดสารพิษตกค้างกลุ่ม pyrethroid และ organophosphorus ในผักผลไม้ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ เพื่อศึกษาผลของ matrix

          การดำเนินงานในกิจกรรมที่ 2 : การพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ดำเนินการทดสอบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการของการตรวจวิเคราะห์สารกลุ่ม organophosphorus, organochlorine, pyrethroid และ carbamate ในตัวอย่าง น้ำ ผัก และผลไม้ โดยจัดทำโปรแกรมการทดสอบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการ ในช่วง 2554 - 2558 โดยมีห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโปรแกรมการทดสอบ 15 - 22 ห้องปฏิบัติการ เป็นห้องปฏิบัติการของกรมวิชาการเกษตรส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และห้องปฏิบัติการภาคเอกชนโดยใช้ Z-score ในการประเมินผล


ไฟล์แนบ
.pdf   178_2558.pdf (ขนาด: 1.8 MB / ดาวน์โหลด: 12,004)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม