การวิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน
#1
การวิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน
สมพล นิลเวศน์

          โครงการการวิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน ประกอบด้วย 6 การทดลอง ได้แก่ 1.การเปรียบเทียบพันธุ์ชาน้ำมันพันธุ์การค้าจากต้นเพาะเมล็ดของประเทศจีน เปรียบพันธุ์ชาน้ำมันพันธุ์การค้าจากต้นเพาะเมล็ดของประเทศจีนจำนวน 9 พันธุ์ ดำเนินการปลูกเมื่อเดือน ก.ค. - ก.ย. 2554 มีความสูงเฉลี่ย 47.12 - 127.62 ซม. ขนาดทรงพุ่มเฉลี่ย 32.22 - 82.72 ซม. ขนาดเส้นรอบวงโคนต้นเฉลี่ย 4.03 – 8.38 ซม. สำหรับการออกดอกและติดผลพบว่า เริ่มออกดอกเมื่อต้นอายุ 2 ปี (ปี 2556) ในเดือน ธ.ค. และเพิ่มมากขึ้นเมื่อต้นอายุ 4 ปี (ปี 2558) ตั้งแต่เดือน ม.ค. และออกดอกอีกครั้งในเดือน มิ.ย. - ธ.ค. ทั้ง 9 เบอร์ รวมทั้งหมด 57 สายต้น โดยพบการออกดอกมากที่สุด ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) 2.การรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์ชาสำหรับผลิตน้ำมันจากแหล่งต่างๆ ของประเทศไทย และสายพันธุ์จากต่างประเทศรวบรวมและคัดเลือกจากแหล่งต่างๆ ของประเทศไทย จำนวน 2 สายพันธุ์ และสายพันธุ์จากต่างประเทศ จำนวน 7 พันธุ์ รวมทั้งหมด 9 สายพันธุ์ ปัจจุบันต้นชาน้ำมันมีอายุ 4 ปี 4 เดือน มีความสูงเฉลี่ย 81.47 - 147.30 ซม. ขนาดทรงพุ่มเฉลี่ย 46.22 - 67.27 ซม. ขนาดเส้นรอบวงโคนต้นเฉลี่ย 4.77 - 7.99 ซม. โดยที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่เหียะ) พบว่าพันธุ์ชาสำหรับผลิตน้ำมันจากต้นเพาะเมล็ดของ C. vietnamensis C. gauchowensis และ C. polydonta มีการเจริญเติบโตดีที่สุด ตามลำดับ สำหรับที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (โป่งน้อย) พบว่าพันธุ์ชาสำหรับผลิตน้ำมันจากต้นเพาะเมล็ดของ C. vietnamensis C. kissii (pongnoy) และ C. gauchowensis มีการเจริญเติบโตดีที่สุด ตามลำดับ โดยพบการออกดอกของ C. vietnamensis จำนวน 4 ต้น และ C. kissii (Pongnoy) จำนวน 22 ต้น และศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) พบว่าพันธุ์ชาสำหรับผลิตน้ำมันจากต้นเพาะเมล็ดของ C. polydonta C. semiserrata var. Albiflora C. semiserrata Chi และ C. vietnamensis มีการเจริญเติบโตดีที่สุด ตามลำดับ โดยพบการออกดอกเมื่อต้นอายุ 2 ปี (ปี 2556) และเมื่อต้นอายุ 4 ปี (ปี 2558) ในเดือน ก.ย. - ธ.ค. จำนวน 2 เบอร์ ได้แก่ C. gauchowensis 18 ต้น และ C. semiserrata var. Albiflora1 ต้น 3.การรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์ชาน้ำมันพื้นเมืองดำเนินการสำรวจและเก็บตัวอย่างชา เพื่อใช้ขยายพันธุ์และตรวจสอบลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยเก็บตัวอย่างในสถานที่ต่างๆ 5 สถานที่ ดังนี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาภูหลวง อ.ภูเรือ จ.เลย อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนน์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติดอยภูคา อ.ปัว จ.น่าน ทำการเก็บตัวอย่างเมล็ดชาน้ำมันเพื่อนำเมล็ดบางส่วนมาเพาะเพื่อทำการทดสอบในแปลงปลูกและนำมาวิเคราะห์หาปริมาณน้ำมัน เพื่อเป็นข้อมูลในการหาต้นแม่พันธุ์ที่ดีสำหรับการขยายพันธุ์ต่อไป พบว่าปริมาณน้ำมันของตัวอย่างเมล็ดที่เก็บจาก จ.น่าน น่าน4 27.74% และน่าน5 มีปริมาณน้ำมัน 34.76% 4. การศึกษาการขยายพันธุ์ชาน้ำมันด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อฟอกเนื้อเยื่อชาน้ำมันด้วยสารกำจัดเชื้อรา (อาลีเอท) อัตราส่วนต่อน้ำกลั่น 3 กรัม : 100 ซีซี เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นล้างด้วยน้ำกลั่นเป็นเวลา 1 นาที แล้วจุ่มด้วยแอลกอฮอล์ 95% ประมาณ 30 วินาที จากนั้นนำมาฟอกด้วย Clorox ผสม Tween 20 ประมาณ 2 - 3 หยด ที่ความเข้มข้น 10% และ 5% เป็นเวลา 10 นาที และ 20 นาที ตามลำดับ แล้วนำมาล้างด้วยน้ำกลั่น 3 ครั้ง ครั้งละ 5 นาที ตัดยอดและข้อ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของยอดชาน้ำมันในอาหารสูตร MS และย้ายลงในอาหารสูตร WPM ที่ชักนำให้เกิดยอดและราก พบว่าเนื้อเยื่อเจริญที่นำมาเพาะเลี้ยงในส่วนปลายยอด มีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าเนื้อเยื่อเจริญส่วนอื่น และอาหารสูตร WPM สามารถชักนำชิ้นส่วนเจริญให้เกิดรากได้ ส่วนการเกิดแคลลัสเมื่อนำไปเพาะเลี้ยงไม่มีการเจริญเติบโต 5.การศึกษาการตัดแต่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มชาน้ำมันดำเนินการเตรียมแปลงและต้นกล้าชาน้ำมันพันธุ์ Camellia vietnamensis 1 แปลง จำนวน 80 ต้น ย้ายต้นกล้าปลูกในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2557 เพื่อทำการทดลองตัดแต่งแต่งตามกรรมวิธี โดยต้นชาน้ำมันที่ปลูกลงแปลงมีการเจริญเติบโตได้ดี แต่ยังไม่สามารถตัดแต่งได้ เนื่องจากต้องการให้ต้นชาน้ำมันมีระดับความสูง 50 - 75 เซนติเมตร ตามกรรมวิธี โดยคาดว่าจะเริ่มทำการตัดแต่งควบคุมทรงพุ่มในปี 2559 6.การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตชาน้ำมัน เพื่อศึกษาสัดส่วนและอัตราการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพชาน้ำมัน และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรในพื้นที่ ดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2555 ถึงกันยายน 2558 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ผลการทดลองพบว่า ความต้องการปุ๋ยชาน้ำมันในรอบปีต้องการปุ๋ยไนโตรเจน 45 กิโลกรัม ปุ๋ยฟอสเฟต 4 กิโลกรัม และปุ๋ยโพแทส 12 กิโลกรัม/ไร่ โดยสัดส่วน N : P2O5 : K2O เท่ากับ 11:1:3 การทดสอบอัตราปุ๋ยไนโตรเจน (N) วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี คือ N 0, 10, 20, 30, 40 และ 50 กิโลกรัม/ไร่ พบว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ ต้นชาน้ำมันมีการเจริญเติบโตด้านความสูงต้นสูงที่สุด 196.0 เซนติเมตรเมื่ออายุ 2 ปี 3 เดือน รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ มีความสูงต้น 165.5 เซนติเมตร แตกต่างอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยอัตรา 40 และ 50 กิโลกรัม/ไร่ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้นสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ


ไฟล์แนบ
.pdf   124_2558.pdf (ขนาด: 2.49 MB / ดาวน์โหลด: 894)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม