วิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียว
#1
วิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียว
อารดา มาสริ, สุมนา งามผ่องใส, เชาวนาถ พฤทธิเทพ, จิราลักษณ์ ภูมิไธสง, ชูชาติ บุญศักดิ์, อัจฉรา จอมสง่าวงศ์, ปวีณา ไชยวรรณ์, วิลัยรัตน์ แปูนแก้ว, อนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ, นัฐภัทร์ คําหล้า, นงลักษ์ ปั้นลาย, กาญจนา วาระวิชนี, อารีรัตน์ พระเพชร, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, อรนุช เกษประเสริฐ, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, สุมนา จําปา, สุดารัตน์ โชคแสน, สมศักดิ์ อิทธิพงษ์, เยาวภา เต้าชัยภูมิ, นิภาภรณ์ พรรณรา, จารุศักดิ์ เขนยทิพย์, สันติ พรหมคํา และสุวิมล ถนอมทรัพย์ 

          โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียว ดําเนินการระหว่างปี 2554 - 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียวผิวมัน และผิวดําให้มีผลผลิตสูงคุณภาพดีต้านทานโรค และเหมาะสําหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ ถั่วงอก และวุ้นเส้น ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวผิวมัน 2) การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวผิวดํา และ 3) การอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมถั่วเขียว ผลการดําเนินงานปรับปรุงพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และประเมินผลผลิตตามขั้นตอนต่างๆ พบว่า ได้พันธุ์ถั่วเขียวผิวมันที่ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 226 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และกําแพงแสน 1 มีเปอร์เซ็นต์ แป้งสูง 54 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสําหรับการแปรรูปเป็นวุ้นเส้น มีขนาดเมล็ดโต โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 69 กรัม และเหมาะสําหรับการเพาะถั่วงอก ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร เมื่อปี 2555 ชื่อ “ถั่วเขียวผิวมันพันธุ์ชัยนาท 84-1” เกษตรกรให้การยอมรับพันธุ์ปลูกในพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง นอกจากนี้ในขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์ ได้ถั่วเขียวผิวมันสายพันธุ์ดีเด่น CNMB-06-01-40-4 และ CNMB-06-03-60-7 ที่ต้านทานโรคราแป้ง ผลผลิตสูง และขนาดเมล็ดโต เหมาะสําหรับการแปรรูปเป็นวุ้นเส้น ในขั้นการคัดเลือกพันธุ์ได้สายพันธุ์ทนอุณหภูมิต่ำ และสายพันธุ์ลักษณะฝักขาว จํานวน 15 และ 60 สายพันธุ์ ตามลําดับ สําหรับกิจกรรมการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวผิวดําพัฒนาได้สายพันธุ์ดีเด่นที่ให้ผลผลิตสูง ขนาดเมล็ดโต และเหมาะสําหรับการเพาะถั่วงอก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ CNBG-CN2-065-53-103-2 ให้ผลผลิต 271 กิโลกรัมต่อไร่ CNBG-CN2-063-53-50-1 ให้ขนาดเมล็ดโต โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 63 กรัม และสายพันธุ์ CNBG-CN2-065-53-56-2 ให้น้ำหนักสดถั่วงอกสุงสุด 6,042 กรัม อัตราการเพาะถั่วงอก 1 : 6 ในขั้นการคัดเลือกพันธุ์ได้ประชากรถั่วเขียวผิวดําผลผลิตสูง ชั่วที่ 4 และ 6 ได้จํานวน 2,346 และ 985 ต้น ตามลําดับ และคัดเลือกขนาดเมล็ดโตชั่วที่ 4, 5 และ 7 จํานวน 2,301, 3,265 ต้น 132 สายพันธุ์ ตามลําดับ นําเข้าเปรียบเทียบเบื้องต้น 32 สายพันธุ์ สําหรับการศึกษาข้อมูลจําเพาะของพันธุ์ ได้เทคโนโลยีการเพาะถั่วงอกเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ โดยการศึกษาการเพาะถั่วงอกเป็นชั้นๆ แบบคอนโด 7 ระยะ พบว่าการเพาะถั่วงอกที่ระยะ 72 ชั่วโมง ผึ่งลม 48 ชั่วโมง ได้ถั่วงอกคอนโดคลอโรฟิลล์ที่เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ โดยให้ปริมาณโปรตีน วิตามินซี เส้นใยหยาบ และคลอโรฟิลล์สูงสุด เท่ากับ 42.6 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักแห้ง) 1.8, 11.15 และ 8.07 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ตามลําดับ การศึกษาการต้านทานโรคแอนแทรคโนสของถั่วเขียวผิวดํา ได้ข้อมูลถั่วเขียวผิวดํา 9 สายพันธุ์ที่ต้านทานโรคแอนแทรคโนสใบแสดงอาการเป็นโรค 1.0 - 8.3 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ สําหรับกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมถั่วเขียว ได้ฐานข้อมูลลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลักษณะการเกษตร และการให้ผลผลิตเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวผิวดํา ผิวมัน และถั่วในสกุล Vigna จํานวน 1,341 สายพันธุ์ รวมทั้งข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีในเมล็ดของเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวผิวดํา จํานวน 446 สายพันธุ์ พบว่า มีปริมาณแป้ง โปรตีน และไขมัน ระหว่าง 40.8 - 78.4, 20.25 - 30.0 และ 0.03 - 3.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   61_2558.pdf (ขนาด: 616.28 KB / ดาวน์โหลด: 18,587)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม