โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการส่งออก
#1
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการส่งออก
รัชนี โสภา และคณะ

          ประเทศไทยมีการปลูกถั่วเหลืองฝักสดทั้งบริโภคภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกในรูปแบบการแช่แข็งพันธุ์เพื่อการส่งออกส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน เมื่อนำมาปลูกในประเทศไทยให้ผลผลิตไม่สูงนัก จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาพันธุ์เพื่อการส่งออกของประเทศไทย รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสด โดยการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ การประเมินผลผลิตตามขั้นตอนต่างๆ พบว่า การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ดี ผสมพันธุ์ได้ 69 คู่ผสม คัดเลือกลูกชั่วต่างๆ ได้ 185 สายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์โดยการฉายรังสี คัดเลือก M4 ได้ถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์ AGS 292 ฉายรังสี จำนวน 1,475 ฝัก และเชียงใหม่ 84-2 ฉายรังสี จำนวน 3,691 ฝัก การเปรียบเทียบมาตรฐานชุดที่ 2 คัดเลือกได้ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ CM0910-2-4 CM0910-2-6 CM0910-21-1 CM0910-21-2 และ CM0914-2-2 ขณะที่การเปรียบเทียบมาตรฐานชุดที่ 3 คัดเลือกได้ 7 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ CM0913-2-2-3 CM0914-4-5-5 CM0914-4-6-1 CM0914-5-3-2 CM0914-5-4-4 CM0914-5-4-6 และ CM0914-6-1-1 การเปรียบเทียบสายพันธุ์จาก AVRDC พบว่า AGS434 และ AGS438 เป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้กว้างปลูกได้ทั่วไป การเปรียบเทียบสายพันธุ์ดีในแต่ละพื้นที่พบว่า สายพันธุ์ MJ9749-46 ให้น้ำหนักฝักสดมาตรฐานและน้ำหนักฝักสดรวมสูง

          ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต จากการสารวจการผลิตถั่วเหลืองฝักสดพบว่า การผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ นิยมใช้พันธุ์เชียงใหม่ 60 และพันธุ์ลูกผสมสายพันธุ์ดีเด่น ผลผลิตอยู่ระหว่าง 550 – 2,091 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาขายอยู่ระหว่าง 8 - 20 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิตอยู่ระหว่าง 4,229 - 13,327 บาทต่อไร่ ปัญหาการผลิต คือ ราคา และการตลาดขึ้นกับพ่อค้าคนกลางและกลไกตลาด การผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อส่งออกพบว่า ปลูกได้ 1 - 2 ครั้งต่อปี ในฤดูแล้งตั้งแต่เดือนพ.ย. - กลางเดือนม.ค. และในฤดูฝน พันธุ์ที่ใช้คือ พันธุ์ AGS 292 นัมเบอร์ 75 และคำโอริ ผลผลิตอยู่ระหว่าง 667–2,147 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาขายอยู่ระหว่าง 16 - 18 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิตอยู่ระหว่าง 7,772 - 16,515 บาทต่อไร่ ปัญหาการผลิต คือ มีการใช้สารเคมีมาก มีความเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดโรคและแมลง เกษตรกรต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ช่วงปลูกที่เหมาะสมในเขตภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ในฤดูแล้ง คือ ตั้งแต่กลางเดือน พ.ย. แต่ไม่ควรเกินกลางเดือน ธ.ค. ช่วงการปลูกที่เหมาะสมที่สุดอยู่ระหว่างต้นเดือนถึงกลางเดือน ธ.ค. ต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่กลางเดือน พ.ค. ถึงสิ้นเดือน พ.ค. และฤดูฝน คือ ในช่วงกลางเดือนส.ค.ถึงสิ้นเดือน ส.ค. ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท และลพบุรี ฤดูปลูกที่เหมาะสมในฤดูแล้ง คือ ตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค. ถึงต้นเดือน ม.ค. และฤดูฝน คือ ตั้งแต่กลางเดือน ก.ค. ถึงต้นเดือน ส.ค. การผลิตถั่วเหลืองฝักสดในเขตภาคกลางพบว่า สายพันธุ์ VB_LB 1 พันธุ์ AGS433 เชียงใหม่ 84-2 และ AGS 292 ให้ผลผลิตสูงในจังหวัดชัยนาท พันธุ์ VB_LB 1 ให้ผลผลิตฝักสดสูงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พันธุ์ AGS433 และพันธุ์เชียงใหม่ 84-2 มีผลผลิตสูงในจังหวัดอุทัยธานี และพันธุ์ VB_LB 1 และ AGS433 ให้ผลผลิตสูงในจังหวัดปทุมธานี ระยะปลูกและจำนวนต้นต่อหลุมที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณฝักมาตรฐานคือ 40 x 20 ซม. และ 2 - 4 ต้นต่อหลุม การใช้ไรโซเบียมร่วมกับการใส่ปุ๋ย 6 - 9 กิโลกรัม K2O ต่อไร่ ที่พิษณุโลกให้ผลผลิตฝักสดมาตรฐานพันธุ์ เอจีเอส 292 สูงที่สุด และการใช้ไรโซเบียมร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งอัตรา GAP (11-11-13) ให้ผลผลิตฝักสดมาตรฐานพันธุ์นัมเบอร์ 75 สูงสุด ขณะที่การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งอัตรา GAP ที่ศวพ.ลพบุรี ให้ผลผลิตฝักสดมาตรฐานพันธุ์เอจีเอส 292 สูงสุด และการใส่ปุ๋ย 0-18-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมด้วยทำให้ผลผลิตฝักสดมาตรฐานพันธุ์นัมเบอร์ 75 สูงสุด สาหรับในฤดูฝน ที่ศว.ร.เชียงใหม่ การใส่ปุ๋ยเคมี (ครั้งที่ 3) อัตรา 13-13-21 กิโลกรัมของ N - P2O5 - K2O (ปุ๋ยเคมีเกรด 13-13-21 อัตรา 100 กิโลกรัม) เป็นอัตราที่ให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มคุ้มค่าต่อการลงทุน การพ่นสารกำจัดวัชพืช imazethapyr ,imazapic และ chlorimuron ethyl + imazethapyr อัตรา 500, 100 และ 50+400 มิลลิกรัมต่อไร่ สามารถกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบได้ดีที่สุด การพ่นสารฆ่าแมลง 5 ครั้งเมื่อถั่วอายุ 28 35 42 49 และ 56 วัน หรือเมื่อถั่วอายุ 35 40 45 50 และ 55 วัน หรือการพ่นสารฆ่าแมลง 7 ครั้ง (ที่อายุ 7 14 21 28 35 42 และ 49 วัน) และพ่นสารสะเดา 1 ครั้ง (ที่อายุ 56 วัน) สามารถป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในระยะออกดอกและติดฝักได้ดี นอกจากนี้ สารฆ่าแมลง บูโพรเฟซิน (นาปาม 25 % WP) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และไซแอนทรานิลิโพรล (เบเนเวีย 10 % OD) อัตรา 60 มล./น้ำ 20 ลิตร ใช้ป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบได้ดี สารฆ่าแมลงฟลูเบนไดอะไมด์ (ทาคูมิ 20 % WDG) อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ใช้ป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ผัก สารฆ่าแมลงสปินโนแซด (ซัคเซส 12 %SC) อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ใช้ป้องกันกำจัดหนอนม้วนใบ และหนอนเจาะฝักถั่ว และสารฆ่าแมลงฟลูเบนไดอะไมด์ (ทาคูมิ 20 % WDG) อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ใช้ป้องกันกำจัดหนอนเจาะฝักถั่วได้ดีเช่นกัน ระยะเก็บเกี่ยวที่ให้ผลผลิตเมล็ดและเมล็ดพันธุ์สูงสุดในฤดูแล้งของพันธุ์เชียงใหม่ 84-2 คือระยะ R8-R8+5 วัน ขณะที่สายพันธุ์ MJ0101-4-6 และพันธุ์ AGS292 ที่ระยะ R7.5-R8 ทุกพันธุ์/สายพันธุ์มีความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์หลังการปรับปรุงสภาพสูงกว่ามาตรฐานเมล็ดพันธุ์ขยาย แต่ในฤดูฝนจะมีคุณภาพต่ำ


ไฟล์แนบ
.pdf   59_2558.pdf (ขนาด: 10.39 MB / ดาวน์โหลด: 3,394)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม