วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการนำไปใช้ประโยชน์ของถั่วเหลือง
#1
วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการนำไปใช้ประโยชน์ของถั่วเหลือง
อ้อยทิน ผลพานิช และคณะ
  
          โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการนําไปใช้ประโยชน์ข้องถั่วเหลือง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ถั่วเหลืองที่ให้ผลผลิตสูง เหมาะสมกับพื้นที่และวัตถุประสงค์การใช้พัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพสําหรับการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลือง และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองที่เหมาะสมกับพื้นที่ดําเนินการวิจัยใน 2 กิจกรรม คือ การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลือง และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลือง ณ แปลงทดลองในศูนย์วิจัยพืชและศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรข้องกรมวิชาการเกษตร และไร่เกษตรกรที่เป็นแหล่งปลูกถั่วเหลือง ในปี 2554 - 2558 ผลการวิจัยพบว่า ในการประเมินคุณค่าเชื้อพันธุ์กรรมถั่วเหลืองพบพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตและสามารถนําไปพัฒนาต่อในโครงการปรับปรุงพันธุ์ จํานวน 30 สายพันธุ์ การปรับปรุงถั่วเหลืองสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ถั่วเหลืองให้ผลผลิตสูงและมีลักษณะการเกษตรที่ดี ได้จํานวน 17 สายพันธุ์ เพื่อนําเข้าประเมินผลผลิตตามขั้นต่อนปรับปรุงพันธุ์ต่อไป และพบถั่วเหลืองสายพันธุ์ CM9928-1-3 CM9937-1-3 CM4703-10 และ CM9936-1-8 สามารถปรับตัวในหลายแหล่งปลูกและให้ผลผลิตสูง พันธุ์ CM9936-1-8 ให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกที่จังหวัดพะเยา พันธุ์ MHS 17 ให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกที่จังหวัดสุโขทัยและข้อนแก่น ซึ่งจะได้นําพันธุ์เหล่านี้ไปทดสอบในแปลงเกษตรกรและศึกษาข้อมูลเฉพาะเพื่อพิจารณาคัดเลือกข้อเป็นพันธุ์รับรองและพันธุ์แแนะนําต่อไป การวิเคราะห์ QTLs สืบหาตําแหน่งยีนควบคุมลักษณะโปรตีนข้องถั่วเหลือง พบเครื่องหมายโมเลกุล 4 เครื่องหมาย คือ Satt184, Satt590, Satt196 และ Satt247 สามารถนําไปใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเหลืองโปรตีนสูงในสายพันธุ์ไทยได้ ส่วนการถ่ายยีนไซโคลฟิลินในถั่วเหลืองเพื่อทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม สามารถทําได้โดยใช้ somatic embryo เป็นชิ้นส่วนพืชเริ่มต้น การชักนําให้เกิด somatic embryo ในถั่วเหลือง กระทําได้โดยใช้เมล็ดอ่อนเลี้ยงบนอาหาร MS ที่เติมวิตามินสูตร B5 และ 2,4-D ความเข้มข้น 180 µM การถ่ายยีนไซโคลฟิลินในถั่วเหลืองสามารถทําได้โดยใช้ Agrobacterium tumefaciens สายพันธุ์ EHA 105

          การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลืองในแต่ละแหล่งปลูก ถั่วเหลืองมีการผลิตและปัญหาการผลิตแตกต่างกันออกไป สามารถนําข้อมูลที่สํารวจได้มาวางแผนงานวิจัยต่อไปในอนาคต การปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้งเขตพื้นที่ปลูกจังหวัดเชียงใหม่ ควรปลูกพันธุ์แเชียงใหม่ 60 ที่ระยะปลูก 40 x 20 เซนติเมตร เขตจังหวัดน่าน และพะเยา ปลูกพันธุ์เชียงใหม่ 60 ที่ระยะปลูก 50 x 20 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูงสุด ส่วนในฤดูฝนการปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 6 ที่ระยะปลูก 40 x 20 เซนติเมตร จะให้ผลผลิตสูงสุดทั้งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ พะเยา และน่าน การปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เชียงใหม่ 6 และ CM 9513-3 ในดินร่วนปนทราย ดินชุดเรณูในเขตจังหวัดิษณุโลก ควรให้ปริมาณน้ำที่ 0.8 IW/E หรือ 48 มม. ต่อครั้ง จะทําให้ผลผลิต ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้านความงอกสูงสุด และควรใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 3-6-3 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O การศึกษาด้านการเปลี่ยนทางสภาวะภูมิอากาศพบว่า สามารถปลูกถั่วเหลืองได้เร็วขึ้นกว่าระยะที่แนะนําเดิม ได้แก่ ในฤดูแล้งปลูกได้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมกราคม พันธุ์ถั่วเหลืองที่ให้ผลผลิตสูงคือ เชียงใหม่ 60 พันธุ์ถั่วเหลืองที่ให้ผลผลิตสูงคือ เชียงใหม่ 2 ในฤดูปลายฝนปลูกได้ตั้งแต่ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกรกฎาคม พันธุ์ถั่วเหลืองที่ให้ผลผลิตสูงคือ เชียงใหม่ 60 สามารถจําแนกดินในแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองเขตภาคเหนือได้ทั้งหมด 11 ชุดดิน และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะหแดินในปลายฤดูฝนทําให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในร้อยละ 3 - 61 เมล็ดพันธุ์มีความงอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 - 58 ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 - 47 ในฤดูแล้งผลผลิตเพิ่มขึ้นในร้อยละ 1 - 73 และเมล็ดพันธุ์มีความงอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 - 15 ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 - 39 การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ควรการเก็บเกี่ยวด้วยมือที่ระยะ R7.5 และ R8 การพ่นสารให้ต้นแห้งและเกี่ยวด้วยเครื่องเกี่ยวนวดที่ระยะ R8 ให้ผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ใกล้เคียงวิธีการเก็บเกี่ยวด้วยมือแต่มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 9.3 - 8.3 % และการแตกร่วง 44.5 - 11.0% หากเกษตรกรจําเป็นต้องใช้สารเคมีพ่นให้ต้นแห้งหรือใบร่วง ควรใช้พาราควอทอัตราต่ำสุดคือ 100 กรัม (a.i.)/ไร่ ที่มีประสิทธิภาพทําให้ต้นแห้ง ใบร่วง และฝักแห้งพร้อมเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด แต่มีผลทําให้ผลผลิตและผลผลิตเมล็ดพันธุ์ลดลง การเก็บรักษาเมล็ดด้วยการเคลือบเมล็ดด้วยน้ำมันสะเดามีความงอกและความเร็วในการงอกสูงกว่าการไม่เคลือบน้ำมันสะเดา เมื่อเพาะที่ระดับความชื้นทราย 100% การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์ MJ9520-21 ปลูกที่ระยะ 50 x 20 ซม. 3 ต้น/หลุม ให้ค่าอัตราส่วนของผลตอบแทนต่อต้นทุนสูงสุด และการปลูกในฤดูแล้งให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์แสูงกว่าปลูกในช่วงปลายฤดูฝน การใช้สารกําจัดวัชพืช metribuzin (ไถเตรียมดินก่อนปลูก ) และการใช้ acetochlor (ปลูกโดยไม่ไถเตรียมดิน ) ในการจัดการวัชพืชในถั่วเหลืองหลังนาในเขตชลประทาน มีประสิทธิภาพและให้ผลตอบแทนสูงสุด การคลุกเมล็ดพันธุ์แถั่วเหลืองด้วยสาร imidacloprid 60%FS, imidacloprid 70%WS และ thiamethoxam 35%FS อัตรา 10 มิลลิลิตร 5 กรัม และ 10 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์แ 1 กิโลกรัม มีประสิทธิภาพป้องกันกําจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบในถั่วเหลือง การพ่นสาร buprofezin 25%WP สาร white oil 67%EC และสารผสม buprofezin 25%WP + white oil 67%EC แบบ Tank mixed มีประสิทธิภาพสามารถควบคุมประชากรของแมลงหวี่ขาวยาสูบทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ในพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า ถั่วเหลืองพันธุ์/สายพันธุ์เชียงใหม่ 6 CM9911-1-5 และขอนแก่นเหมาะสําหรับ ปลูกหลังฤดูทํานาโดยอาศัยความชื้นในดินหรืออาศัยความชื้นในดินร่วมกับการให้น้ำ 1 - 2 ครั้ง และพันธุ์เชียงใหม่ 2 เหมาะสําหรับสภาพขาดน้ำปลายฤดู และการปลูกโดยวิธีขุดหยอดระยะ 40 x 20 เซนติเมตร หลุมละ 5 เมล็ด หรือวิธีโรยเมล็ดในร่องไถ ระยะร่อง 40 เซนติเมตร 25 - 30 เมล็ดต่อแถวยาว 1 เมตร และวิธีหว่าน 15 กิโลกรัมเมล็ดต่อไร่ และคลุกเมล็ดด้วยจอบหมุน ที่ส่งผลให้ถั่วเหลืองงอกและอยู่รอดถึงเก็บเกี่ยวเป็นเปอร์เซ็นต์ของจํานวนเมล็ดใช้ปลูกสูงกว่าวิธีอื่นๆ เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมสําหรับถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเด่น MHS 17 ในแหล่งปลูกจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าในฤดูแล้ง ควรปลูกในช่วงกลางพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม ปลูกที่ระยะ 40 x 20 เซนติเมตร จํานวนต้น 3 - 4 ต้นต่อหลุม และใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างน้อยอัตรา 3 กิโลกรัม N ต่อไร่ ในฤดูฝนควรปลูกในช่วงกลางมิถุนายนต้นเดือนกรกฎาคม ปลูกที่ระยะ 40 x 20 เซนติเมตร หรือ 50 x 20 เซนติเมตร จํานวนต้น 2 - 4 ต้นต่อหลุม และคลุกเมล็ดด้วยไรโซเบียมก่อนปลูก สามารถทดแทนการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนได้ การปลูกถั่วเหลืองพันธุ์ลพบุรี 84-1 ควรใช้ระยะปลูก 75 x 10 ซม. จํานวน 4 ต้น/หลุม จะทําให้สามารถใช้รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กในการพ่นสารเคมีกําจัดวัชพืชและโรคแมลง และการใส่ปุ๋ยเคมีในแปลงปลูกได้ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทําให้ต้นทุนการผลิตต่อไร่ลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การผลิตถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเด่น MJ9520-21 ในเขตจังหวัดเลยและใกล้เคียงพบว่า ควรปลูกปลายเดือนพฤศจิกายน – ต้นธันวาคม หรือช้ากว่านี้ 10 วัน ถ้าปลูกช่วงต้นเดือนธันวาคมจึงจะได้ผลผลิตสูงที่สุด


ไฟล์แนบ
.pdf   58_2558.pdf (ขนาด: 10.85 MB / ดาวน์โหลด: 792)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม