โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
#1
โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
รัตน์ติยา พวงแก้ว, บงการ พันธุ์เพ็ง, รชต เกงขุนทด และเฉลิมพงษ์ ขาวช่วง
ศวพ.บุรีรัมย และสวพ.4

          การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ดำเนินการทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราก่อนการเปิดกรีด โดยทดสอบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตร) เปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรพบว่า กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหาร N, P2O5 และ K2O น้อยกว่าวิธีเกษตรกร 8.82 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้มีต้นทุนค่าปุ๋ยต่ำกว่าวิธีเกษตรกร 268.98 บาทต่อไร่ เมื่อวัดการเจริญเติบโตพบว่า กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีเส้นรอบลำต้นต้นเพิ่มขึ้น 8.75 เซนติเมตรต่อปี มากกว่าวิธีของเกษตรกรเพิ่มขึ้น 8.08 เซนติเมตรต่อปี การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราหลังการเปิดกรีด ดำเนินการทดสอบเช่นเดียวกัน พบว่าแปลงเกษตรกร จ.บุรีรัมย์ ในกรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่าวิธีเกษตรกร 2.91 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้มีต้นทุนค่าปุ๋ยต่ำกว่าวิธีเกษตรกร 533.15 บาทต่อไร่ ขณะที่แปลงเกษตรกร จ.อุบลฯ กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารมากกว่าวิธีเกษตรกร 6.70 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนค่าปุ๋ยสูงกว่าวิธีเกษตรกร 340.29 บาทต่อไร่ จากข้อมูลผลผิดพบว่า กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตยางแห้ง และให้ผลตอบแทนมากกว่าวิธีเกษตรกร โดยปี 2554 - 2556 กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตมากกว่าวิธีเกษตรกร 21.50 30.73 และ 3.65 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินปี 2554 และ 2555 มีผลตอบแทนมากกว่าวิธีเกษตรกร 2,866.16 และ 2,892.10 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้นเทคโนโลยีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตยางพารา จึงควรแนะนำให้กับเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราก่อนและหลังเปิดกรีดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง


ไฟล์แนบ
.pdf   282_2556.pdf (ขนาด: 524.26 KB / ดาวน์โหลด: 2,477)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม