ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารากํอนการเปิดกรีดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
#1
ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารากํอนการเปิดกรีดพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย, มะนิต สารุณา, เกษตร แนบสนิท, ญาณิน สุปะมา, ศักดิ์สิทธิ์ จรรยากรณ และพรทิพย์ แพงจันทร์
ศวพ.ชัยภูมิ สวพ.3, ศวพ.นครพนม, ศวย.หนองคาย  และสวพ.3  

          ปัญหาสำคัญของการผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน คือ ใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้อง ทำให้เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูงแต่ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มตามศักยภาพ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จึงทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยทดสอบการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสมในพื้นที่ปลูกยางของเกษตรกรเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในพื้นที่ สร้างแปลงตัวอย่างเพื่อเป็นแปลงเรียนรู้ของเกษตรกร ขยายผลไปยังแปลงเกษตรกรที่มีสภาพคล้ายคลึงกับแปลงทดสอบ ดำเนินการทดสอบ ปี 2554 - 2556 ในแปลงเกษตรกร 3 จังหวัด คือ หนองบัวลำภู นครพนม และหนองคาย โดยใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและลักษณะดินในการแบํงพื้นที่ ทดสอบกับยางกํอนการเปิดกรีดอายุ 3 - 5 ปี เกษตรกร 13 รายและ มี 2 กรรมวิธี 2 ซ้ำ คือ 1) กรรมวิธีทดสอบ ใส่ปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน และ 2) กรรมวิธีเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยทั้งชนิดและอัตราไม่ถูกต้อง ผลการทดสอบการใช้ปุ๋ยในยางก่อนการเปิดกรีด พบว่า กรรมวิธีทดสอบมีเส้นรอบวงลำต้นที่เพิ่มขึ้นสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรในทุกจังหวัด โดยพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู มีเส้นรอบวงลำต้นเพิ่มขึ้น 6.9 และ 6.2 เซนติเมตรต่อปี ตามลำดับ พื้นที่จังหวัดนครพนม 5.8 และ 5.1 เซนติเมตรต่อปี ตามลำดับ และพื้นที่จังหวัดหนองคาย 9.7 และ 5.7 เซนติเมตรต่อปี ตามลำดับ ผลการดำเนินงานยังทำให้เกษตรกรทั้ง 13 ราย ใน 3 จังหวัด สามารถเป็นเกษตรต้นแบบถ่ายทอดความรู้การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องสำหรับเกษตรกรที่สนใจในจังหวัด และพื้นที่ใกล้เคียงสามารถขยายผลและถ่ายทอดความรู้ไปสู่เกษตรกรทั้ง 3 จังหวัด


ไฟล์แนบ
.pdf   280_2556.pdf (ขนาด: 259.98 KB / ดาวน์โหลด: 404)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม