10-12-2016, 04:10 PM
การคัดเลือกและทดสอบศักยภาพของเชื้อรา Fusarium oxysporum สายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคพืช (non-pathogenic Fusarium) ในการควบคุมเชื้อรา Fusarium oxysporum
อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, ธารทิพย ภาสบุตร และสุณีรัตน์ สีมะเดื่อ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, ธารทิพย ภาสบุตร และสุณีรัตน์ สีมะเดื่อ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การคัดเลือกและทดสอบศักยภาพของเชื้อรา Fusarium oxysporum สายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรค (non-pathogenic Fusarium) ในการควบคุมเชื้อรา Fusarium oxysporum ได้ดำเนินการออกสำรวจและเก็บตัวอย่างดินปลูกกล้วยน้ำว้า ข้าวโพด แก้วมังกร เบญจมาศ พริก มะเขือเทศ ผักหวานบ้าน ข้าวโพด แตงกวา แตงโม ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ปาล์มน้ำมัน และดินตามป่าธรรมชาติ จาก จ.กาญจนบุรี จ.เชียงใหม่ จ.ตาก จ.นครปฐม จ.สุพรรณบุรี และจ.อุบลราชธานี นำมาแยกเชื้อรา F. oxysporum จากดิน แล้วแยกเชื้อให้บริสุทธิ์ และจำแนกชนิดของเชื้อโดยดูลักษณะการเจริญบนอาหาร PDA และลักษณะโครงสร้างการเจริญได้เชื้อรา F. oxysporum จำนวน 10 ไอโซเลท คือ ได้จากดินปลูกพริก จ.กาญจนบุรี ได้จากดินปลูกมะเขือเทศ จ.เชียงใหม่ ได้จากดินธรรมชาติ จ.ตาก ได้จากดินปลูกกล้วยน้ำว้า จ.นครปฐม ได้จากดินปลูกป่าปลูกกล้วยว้า จ.เชียงใหม่ ได้จากดินปลูกแตง จ.สุพรรณบุรี และได้จากดินปลูกผักหวานบ้าน จ.อุบลราชธานี ปลูกต้นพริก มะเขือเทศ ถั่วลันเตา ผักหวานบ้าน ข้าวโพด แตงกวา แตงโม ถั่วฝักยาว ในกระถางดินขนาด 5 ลิตร เพื่อเตรียมตรวจสอบความสามารถในการก่อให้เกิดโรคของเชื้อรา F. oxysporum โดยปลูกเชื้อรา F. oxysporum ที่แยกและจำแนกชนิดได้ จำนวน 6 ไอโซเลท ที่แยกได้จากดินปลูกพริก จ.กาญจนบุรี ดินปลูกมะเขือเทศ จ.เชียงใหม่ และดินธรรมชาติ จ.ตาก ไม่พบอาการต้นเหี่ยวซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากเชื้อรา F. oxysporum สาเหตุโรคพืช ที่มีอาการใบเหลืองที่ใบล่าง และร่วง