ประสิทธิภาพสารสกัดสะเดา เชื้อแบคทีเรีย และสารฆ่าแมลง ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม
#1
ประสิทธิภาพสารสกัดสะเดา เชื้อแบคทีเรีย และสารฆ่าแมลง ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม และหนอนแมลงวันชอนใบและผลกระทบต่อแมลงศัตรูธรรมชาติในหอมแดง
สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ศึกษาประสิทธิภาพสารสกัดสะเดา เชื้อแบคทีเรีย และสารฆ่าแมลง ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม และหนอนแมลงวันชอนใบและผลกระทบต่อแมลงศัตรูธรรมชาติในหอมแดง ดำเนินการทดลองที่แปลงเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือน มกราคม 2554 - กันยายน 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธี การทดลองประสิทธิภาพเชื้อแบคทีเรีย และสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม แปลงทดลองที่ 1 และ 2 พ่น Bacillus thuringiensis subsp aizawai, พ่นสารฆ่าแมลง chlorfenapyr 10% SC, flubendiamide 20% WG, spinosad 12% SC, chlorantraniliprol 5.17% SC, tofenpyrad 16% EC และ indoxacarb15% SC อัตรา 100 มิลลิลิตร, 40 มิลลิลิตร, 6 กรัม, 40 มิลลิลิตร, 30 มิลลิลิตร และ 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับการไม่ใช้สารฆ่าแมลงพบว่า สารฆ่าแมลง tofenpyrad 16% EC, chlorfenapyr 10% SC, flubendiamide 20% WG, chlorantraniliprol 5.17% SC, และ indoxacarb 15%SC มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอมในหอมแดง รองลงมาคือ Bacillus thuringiensis subsp aizawai และ spinosad 12% SC การทดลองประสิทธิภาพสารสกัดสะเดาและสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันชอนใบ แปลงทดลองที่ 1 และ 2 พ่นเมล็ดสะเดาบดแช่น้ำ, พ่นสารฆ่าแมลง fipronil 5%SC, betacyfluthrin 2.5%EC, imidacloprid 10%SL, etofenprox 20%EC, dinotefuran 10%WP และ spinosad 12%SC อัตรา 1 กิโลกรัม, 30 มิลลิลิตร, 30 มิลลิลิตร, 20 มิลลิลิตร, 30 มิลลิลิตร, 20 กรัม และ 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เปรียบเทียบกับการไม่ใช้สารฆ่าแมลงพบว่า สารฆ่าแมลง fipronil 5% SC, betacyfluthrin 2.5% EC, imidacloprid 10% SL, etofenprox 20% EC, dinotefuran 10%WP และ spinosad 12% SC มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันชอนใบในหอมแดง รองลงมาคือ พ่นเมล็ดสะเดาบดแช่น้ำ


ไฟล์แนบ
.pdf   247_2556.pdf (ขนาด: 638.33 KB / ดาวน์โหลด: 780)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 4 ผู้เยี่ยมชม