การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลองกองคุณภาพ
#1
การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลองกองคุณภาพ
ศรินณา ชูธรรมธัช, สุพร ฆังคมณี และนาตยา ดำอำไพ
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 และศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง

          ลองกองหลังจากเก็บเกี่ยวจะเกิดการเน่าเสีย ผิวคล้ำ และหลุดร่วงได้ง่าย มีอายุการเก็บรักษาสั้น เปลือกผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล อย่างรวดเร็วภายใน 4 - 6 วัน โครงการการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลองกองคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการใช้สารเคลือบผิวผลไม้ก่อนการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยวลักษณะช่อผลและผลเดี่ยวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และเพื่อชะลอการเกิดสีน้ำตาลของผิวเปลือกลองกองหลังการเก็บเกี่ยว ประกอบด้วย 4 การทดลอง ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการใช้สารเคลือบผิวก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาลองกอง 3 การทดลอง และการทดสอบสารยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลของผิวเปลือกลองกอง 1 การทดลอง ระยะเวลาทำการทดลองตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงกันยายน 2555 แปลงเกษตรกรจังหวัดสตูลและสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 และภาควิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การทดลองที่ 1 ทดสอบอัตราสารเคลือบผิวที่เหมาะสมก่อนการเก็บเกี่ยว เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาลองกอง วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCBD จ านวน 6 ซ้ำ main plot คือ ควบคุม (ไม่พ่นสารเคลือบผิวไคโตซาน) ไคโตซานความเข้มข้น 0.5% 1.0% 1.5% และ sub plot คือ ระยะเวลาการเก็บรักษาลองกอง คือ 0 5 10 และ 15 วัน หลังการเก็บรักษา (ดำเนินการปี 2554) การทดลองที่ 2 แผนการทดลองแบบ Split plot in RCBD จ านวน 4 ซ้ำ main plot คือ การพํนสารไคโตซาน 0.5% ที่อายุช่อผลลองกอง 12 สัปดาห์หลังดอกบาน อายุ 13 สัปดาห์หลังดอกบาน และควบคุม (ไม่มีการพ่นสารไคโตซาน) sub plot คือ เวลาการเก็บรักษา 0 5 10 และ 15 วัน การทดลองที่ 3 การทดสอบการยืดอายุและเก็บรักษาลองกองผลเดี่ยวโดยใช้สารเคลือบผลไม้แผนการทดลองแบบ Split plot โดยมี main plot คือ 2 x 3 Factorial in RCB 4 ซ้ำ ปัจจัย A คือ การเคลือบสาร A1 = ไม่เคลือบสารไคโตซาน และ A2 = เคลือบด้วยไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 1% ปัจจัย B คือ บรรจุภัณฑ์แบบต่างๆ 3 แบบ คือ P1 = ถาดโฟมห่อหุ้มพลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์ P2 = ตะกร้าพลาสติก P3 = กล่องกระดาษ sub plot คือ เวลาการเก็บรักษา 0 5 10 และ 15 วันหลังการเก็บรักษา การทดลองที่ 4 วิธีชะลอการเปลี่ยนแปลงสีเปลือก คือ การใช้สารเคมีเพื่อชะลอการเกิดสีน้ำตาลของการทดลองนี้ ทำการทดลอง ณ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCBD จำนวน 3 ซ้ำ โดย main plot คือ การไม่แช่สาร และแช่สาร Ascorbic acid 0.5 และ 1 % Citric acid 1 และ 1.5 % Oxalic acid 0.5 และ 1 % และ sub plot คือ ระยะเวลาการเก็บรักษาลองกอง คือ 0 5 10 และ 15 วัน หลังการเก็บรักษา นำลองกองตามกรรมวิธีต่างๆ บรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูกแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85 - 90 เปอร์เซ็นต์

          สรุปผลการทดลองที่ 1 และ 2 การพัฒนาเทคโนโลยีการใช้สารเคลือบผิวผลไม้ก่อนการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยวลักษณะช่อผลมีแนวโน้มว่าการใช้สารเคลือบผิวไคโตซานที่ความเข้มข้น 0.5 % และฉีดพ่นที่อายุช่อผล 12 สัปดาห์หลังดอกบานสามารถเก็บรักษาได้ 10 วันในห้องอุณหภูมิห้อง 18 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 85 - 90 % ที่จังหวัดสงขลา เมื่อเวลาเก็บรักษาเพิ่มขึ้นเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทั้งสองการทดลอง ส่วนการทดสอบการยืดอายุและเก็บรักษาลองกองผลเดี่ยวโดยใช้สารเคลือบผลไม้ ผลการทดลองพบวำ เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักของกรรมวิธีเคลือบและไม้เคลือบไคโตซานบรรจุโฟมห่อหุ้มพลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์ มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์น้ำหนักต่ำกว่ากรรมวิธีอื่นที่ 10 วันหลังการเก็บรักษา คือ 2.38 และ 2.08% ความแน่นเนื้อผล และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ มีผลทำนองเดียวกันคือ แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อเวลาเก็บรักษาเพิ่มขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ส่วนค่าความสว่าง (L) และสีเหลือง (b) จะลดลงเมื่อเวลาการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ส่วนปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ของทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ไม่ว่าเวลาจะเพิ่มขึ้นและการเคลือบสารหรือไม่เคลือบสารไคโตซาน สรุปผลการทดลองจากการดำเนินการทั้ง 2 ปี การใช้สารเคลือบไคโตซานความเข้มข้น 0.5% กับลองกองผลเดี่ยวแล้วบรรจุภัณฑ์แบบต่างๆ ไม่มีผลช่วยในการยืดอายุการเก็บรักษาและเพิ่มคุณภาพลองกอง

          การทดสอบสารยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลของผิวเปลือกลองกอง ลองกองทุกกรรมวิธีมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดและเปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกรรมวิธีที่แช่สาร Citric acid 1% สามารถชะลอการสูญเสียน้ำหนักได้ดีที่สุด คือ 7.14% หลังเก็บรักษา 10 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงจากช่อผลน้อยที่สุด 10.28% หลังเก็บรักษา 10 วัน สำหรับความแน่นเนื้อพบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติทุกกรรมวิธี ยกเว้นอายุการเก็บรักษามีแนวโน้มทำให้ความแน่นเนื้อเพิ่มขึ้น ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่คำ TSS/TA มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา การเปลี่ยนแปลงสีของเปลือกลองกองพบว่า ทุกกรรมวิธีมีค่า L และค่า b ลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้นอยำงมีนัยสำคัญทางสถิติ และกรรมวิธีที่แช่สาร Citric acid 1% มีคำ L และค่า b สูงสุด โดยมีค่า L 59.00 และค่า b 29.23 ในวันที่ 10 ของการเก็บรักษา และมีค่า L 57.80 และค่า b 27.95 ในวันที่ 15 ของการเก็บรักษา ส่วนค่าสีแดง (a) ลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้นแต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ สรุปได้ว่าการใช้สาร Citric acid 1% สามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงสี การสูญเสียน้ำหนักสด และการหลุดร่วงของผลลองกองได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่นหลังการเก็บรักษา 10 วัน


ไฟล์แนบ
.pdf   15_2555.pdf (ขนาด: 752.03 KB / ดาวน์โหลด: 975)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม