08-09-2016, 10:38 AM
การจัดการโรคเกสรดำในกล้วยไม้สกุลหวายโดยสารเคมี
ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร และวัชรี วิทยวรรณกุล
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร และวัชรี วิทยวรรณกุล
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
ในปี 2552 ได้ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืช 6 ชนิดต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA หลังการทดลอง 7 วัน พบว่า สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ดีที่ทุกระดับความเข้มข้นมี 4 ชนิดคือ สาร carbendazim 50 % W/V/SC, prochloraz 50 %W.P. และ propiconazole + procholraz 40%W/V/EC ซึ่งเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคไม่สามารถเจริญได้และมีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยได้ดีรองลงมา คือ สาร azoxystrobin + difenoconazole 32.5 %W/V/SC มีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งตั้งแต่ 64.11 - 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำสารทั้ง 4 ชนิด ไปทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันกำจัดโรคเกสรดำในกล้วยไม้สกุลหวาย 2 พันธุ์ ในสภาพแปลงทดลองพบว่า สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคได้ดีคือ สาร prochloraz 50 %W.P. รองลงมาได้แก่ สาร carbendazim 50 %W/V/SC และ azoxystrobin + difenoconazole 32.5 %W/V/SC