การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเหี่ยวของขิงด้วยสาร isothiocyanate ในพืชตระกูลกะหล่ำ
#1
การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเหี่ยวของขิงด้วยสาร isothiocyanate ในพืชตระกูลกะหล่ำ
สุรชาติ  คูอาริยะกุล, อภิชัย  วิชัยกุล, นภาพร ไชยยศ และอุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1, ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          สารระเหย isothiocyanates (ITCs) ได้จากการสลายตัวของสาร glucosinolates (GSLs) ที่พบในพืชผักตระกูลกะหล่ำเป็นสารรมทางชีวภาพ (biofumigant) ที่มีศักยภาพสำหรับการบริหารจัดการโรคพืชและแมลงศัตรูพืชที่ถ่ายทอดทางดิน การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum (Rs.) ที่ก่อให้เกิดโรคเหี่ยวของขิง  ได้ดำเนินการรมทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการในสภาพอุณหภูมิ 28+0.5 C นาน 24 ชั่วโมง และอุณหภูมิ 24+0.5 C นาน 48 ชั่วโมง โดยการใช้ใบผักตระกูลกะหล่ำในระยะช่อดอกบาน 50% ทำให้เยือกแข็งอบแห้ง (Freezed dry, FD) จำนวน 14 พันธุ์/สายพันธุ์ใน จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ ขิ่ว ขี้หูด เขียวน้อย เขียวใบ ชุนฉ่าย คะน้าดอย Black mustard และ Indian mustard ปรากฏว่า ผลจากการศึกษาจำนวน 3 ครั้ง ในสภาพอุณหภูมิ 28+0.5 C นาน 24 ชั่วโมง การสลายตัวของชุนฉ่าย #77 สามารถยับยั้งการเจริญของโคโลนีแบคทีเรีย Rs. ได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่มีพืชผักตระกูลกะหล่ำที่มีศักยภาพรองลงมา ได้แก่ เขียวใบ #71, ขิ่ว #91 และ Indian mustard #52 ตามลำดับ ส่วนการศึกษาในสภาพอุณหภูมิ 24+0.5 C นาน 48 ชั่วโมง จำนวน  2 ครั้ง พบว่า ชุนฉ่าย #77 สามารถลดประชากรของแบคทีเรีย Rs. ได้ดีที่สุด ที่มีศักยภาพรองลงมา ได้แก่ เขียวใบ #71, Indian mustard #80 และ Indian mustard #52 ตามลำดับ พืชตระกูลกะหล่ำในกลุ่ม Brassica juncea (ชุนฉ่าย  เขียวใบ  ขิ่ว และ Indian mustard) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Rs. บนอาหารเลี้ยงเชื้อได้ดีกว่า B. nigra, Raphanus sativus subsp. longipinatus และ B. oleracea Alboglabra Group การปล่อยให้แบคทีเรีย Rs. รับสารระเหย ITC เป็นเวลานานขึ้นมีผลทำให้ประสิทธิภาพการยับยั้งประชากรบคทีเรีย Rs. เพิ่มขึ้น การวิเคราะห์ตัวอย่างใบผักตระกูลกะหล่ำด้วยเทคนิค Gas chromatography-flame ionization detector (GC-FID) เพื่อหาปริมาณสาร benzyl -ITC (BITC) และ phenylethyl -ITC (PeITC) พบว่า Indian mustard #81 และขิ่ว #91 มีปริมาณ BITC และ PeITC มากที่สุด ตามลำดับ ปริมาณสาร ITCs ที่ตรวจพบไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Rs. การทดลองนี้เป็นข้อมูลการนำพืชตระกูลกะหล่ำกลุ่ม B.juncea ที่มีศักยภาพ ในรูปของปุ๋ยพืชสดสำหรับการควบคุมโรคเหี่ยวของขิงในดินต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1865_2554.pdf (ขนาด: 175.51 KB / ดาวน์โหลด: 703)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม