การจัดการโรคเหี่ยวของพริกที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
#1
การจัดการโรคเหี่ยวของพริกที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อรพรรณ วิเศษสังข์ และณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          โรคเหี่ยวของพริกที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum เป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในแหล่งปลูกพริกทั่วประเทศ วิธีการทางเขตกรรมต่างๆเพื่อลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในดินก่อนการปลูกพืชจะช่วยลดความเสียหายของโรคนี้ได้ การปรับปรุงดินด้วยปูนขาว + ยูเรียเป็นวิธีการหนึ่งที่เคยมีรายงานว่า สามารถลดการระบาดของโรคนี้ในขิงได้จึงนำมาทดสอบกับโรคเหี่ยวของพริกที่ศูนย์วิจัยพืชสวนลำปาง ในปี พ.ศ. 2552 เป็นการทดสอบซ้ำในลักษณะเดียวกับการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2551 พบว่า การใช้ปูนขาว 80 กก. + ยูเรีย 800 กก.ต่อไร่ ปรับปรุงดินก่อนปลูกสามารถลดความเสียหายของโรคเหี่ยวของพริกได้ร้อยละ 80.84 ไม่แตกต่างทางสถิติจากการปรับปรุงดินด้วยปูนขาว 700 กก. + ยูเรีย 70 กก.ต่อไร่ ที่สามารถลดความเสียหายของโรคได้ร้อยละ 80.42 ดังนั้น ในการปลูกพริกในแหล่งที่เคยมีประวัติของโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ควรจะปรับปรุงดินก่อนปลูกด้วยปูน + ยูเรีย อัตราดังกล่าวจะทำให้เกิดโรคเหี่ยวกับต้นพริกน้อยลงได้ และเมื่อพบต้นเป็นโรคควรถอนออกจากแปลงปลูกและปล่อยให้ดินตากแดดโดยตรงจะทำให้เชื้อสาเหตุที่หลุมปลูกนั้นตายได้


ไฟล์แนบ
.pdf   1129_2552.pdf (ขนาด: 147.74 KB / ดาวน์โหลด: 2,587)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม