ผลของสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์
#1
ผลของสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์
พวงผกา อ่างมณี, สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง และยุทธนา แสงโชติ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาผลของสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบชนิดของสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชที่ปลอดภัยต่อผึ้งพันธุ์ เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้สารควบคู่กับการนำผึ้งพันธุ์เข้าช่วยในการผสมเกสรพืช หรือหลีกเลี่ยงการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษสูงต่อผึ้งในช่วงการบานของดอกไม้ ทำการทดลองที่หน่วยงานวิจัยผึ้ง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฏาคม 2552 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 3 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ได้แก่ Bacillus thuringiensis var aizawai (Xentari WDG) อัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, Bt. var kurstaki (Bactospeine) อัตรา 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, สารสกัดสะเดา (Neem111) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร, ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) อัตรา 50 x 106 ตัว/น้ำ 20 ลิตร, chlorpyrifos/cypermethrin (Nurelle-L 505 EC) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร, carbaryl (Sevin 85 WP) อัตรา 45 มล./น้ำ 20 ลิตร, lamdacyhalothrin (Karate 2.5 EC) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร และ control ทำการทดลองโดยวิธีผสมในน้ำเชื่อมให้ผึ้งงานดูดกิน (Feeding method) บันทึกจำนวนผึ้งที่ตายหลังได้รับสาร 48 และ 72 ชั่วโมง พบว่า Bt (Xentari WDG) ที่ความเข้มข้น 77.25, 154.5, 231.75 และ 309.0 ppm Bt (Bactospeine) ที่ความเข้มข้น 48, 96, 144 และ 192 ppm, สารสกัดสะเดา (Neem111) ที่ความเข้มข้น 1, 10, 100 และ 1000 ppm Nematode DOA ที่ความเข้มข้น 1000, 2000, 3000 และ 4000 ตัว/ml Chlorpyriphos/cypermethrin ที่ความเข้มข้น 1, 10, 100 และ 1000 ppm Cabaryl ที่ความเข้มข้น 1, 10, 100 และ 1000 ppm lamdacyhalothrin ที่ความเข้มข้น 1, 10, 100 และ 1000 ppm และ Control (น้ำเชื่อม) บันทึกผลการตายของผึ้งงานที่ 48 ชั่วโมง เท่ากับ 3.3% และที่ 72 ชั่วโมงเท่ากับ 6.6% อัตราการตายของผึ้งหลังได้รับสารชีวภัณฑ์ต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปีถัดไปจะได้ทำการทดลองซ้ำ เนื่องจากจำนวนผึ้งงานไม่เพียงพอสำหรับการทดลอง


ไฟล์แนบ
.pdf   1153_2552.pdf (ขนาด: 127.05 KB / ดาวน์โหลด: 467)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม