เทคโนโลยีการผลิตมะลิ
#1
เทคโนโลยีการผลิตมะลิ
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

          การผลิตมะลิยังมีปัญหาอยู่มากโดยเฉพาะปัญหาสารเคมีตกค้างในดอก ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคและแมลง และปัญหาการขาดแคลนมะลิช่วงเทศกาล ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรโดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จึงได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยหาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการนำวิธีการต่างๆ มาจัดทำเป็นชุดเทคโนโลยี และมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถเพิ่มปริมาณและคุณภาพดอกได้ตามเวลาที่กำหนด ผลการวิจัยพบว่า ชุดเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมีวิธีการ ดังนี้ 1) ปลูกมะลิโดยใช้พันธุ์ราชบูรณะ 1 2) ปลูกในโรงเรือนตาข่าย 3) ตัดแต่งกิ่งอย่างเป็นระบบ 4) การให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ำ 5) คลุมโคนต้นด้วยแผ่นพลาสติกสีดำ 6) ใช้สารโพแทสเซียมไนเตรท 25 มก./ล.พ่นในวันตัดแต่งกิ่ง และคลอมีควอทคลอไรด์ 0.5 มล./ล. หรือเมพิควอทคลอไรด์ 0.00875 มล./ล. พ่นหลัง ตัดแต่งกิ่ง 10 วัน 7) พ่นสารสกัดจากสาหร่ายหรือปุ๋ยทางใบสูตร 10-30-10 ทุก 7 วัน วิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาสามารถเลือกและลดวิธีการลงได้ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ สภาพแวดล้อม และความพร้อมของเกษตรกร สำหรับวิธีการบังคับให้มะลิออกดอกตามช่วงเวลาที่กำหนดพบว่า มะลิมีวัฏจักรหรือรอบการผลิตโดยเฉลี่ย 42+3 วัน นับจากวันเริ่มบังคับการออกดอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิระหว่างการบังคับการออกดอก โดยพบว่า จำนวนวันของรอบการผลิตจะเพิ่มขึ้นเมื่ออากาศร้อนแต่จำนวนวันจะลดลงเมื่ออากาศเย็น


ไฟล์แนบ
.pdf   550_2551.pdf (ขนาด: 266.79 KB / ดาวน์โหลด: 2,883)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม