08-03-2016, 02:13 PM
เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษและการนำไปใช้ประโยชน์
จิรภา พุทธิวงศ์, สมพงษ์ สุขเขตต์, เอนก บางข่า และโกมินทร์ วิโรจน์วัฒนกุล
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ, กองแผนงานและวิชาการ
จิรภา พุทธิวงศ์, สมพงษ์ สุขเขตต์, เอนก บางข่า และโกมินทร์ วิโรจน์วัฒนกุล
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ, กองแผนงานและวิชาการ
กรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนามะละกอพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ โดยวิธี pure line selection จนได้พันธุ์มะละกอที่มีลักษณะดีเด่น คือ ลำต้นเตี้ย ให้ผลดก ติดผลเร็ว ผลผลิตเฉลี่ย 52.2 กิโลกรัม/ต้น/ปี นอกจากนี้ยังมีความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์สูงกว่าพันธุ์แขกดำพื้นเมืองทั่วไป กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2537 และให้การรับรองโดยกรมวิชาการเกษตรเป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 22/2540 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2540 ปัจจุบันศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำผลงานวิจัยด้านพันธุ์ที่ได้นี้ มาดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์หลักมะละกอแขกดำศรีสะเกษ และได้กระจายเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในสังกัด สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตต่างๆและการจำหน่าย จ่าย แจก ให้กับเกษตรกร เอกชน หรือหน่วยงานราชการอื่นๆ มีผลการดำเนินงานและการใช้ประโยชน์งานผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษ ในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2550 มีแผนการผลิตรวมทั้งหมด 170 กิโลกรัม จำหน่ายเป็นจำนวน 144 กิโลกรัม จ่ายแจกเป็นจำนวน 5 กิโลกรัม โดยมีเกษตรกรและหน่วยงานอื่นๆรับบริการจำนวน 262 คน ได้มีการเผยแพร่ผลงานเกี่ยวกับพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษ หลายรูปแบบ เช่น การเสนอผลงานวิจัย การออกข่าวเผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดแสดงนิทรรศการ การเผยแพร่ทางวิทยุ การเผยแพร่ทางสื่ออิเลกทรอนิก การแจกเอกสารแผ่นพับและอื่นๆ โดยนักวิชาการเกษตรที่อยู่ในสังกัดศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ หรือหน่วยงานอื่นในกรมวิชาการเกษตร และผู้สื่อข่าวด้านการเกษตรของหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารต่างๆ นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร ได้ปฏิบัติงานร่วมกับประชาชน ในโครงการนำร่องมะละกอแขกดำศรีสะเกษแบบมีส่วนร่วมกับประชาชน ในปี พ.ศ.2550 มีเกษตรกรใกล้เคียงพื้นที่ดำเนินการ ให้ความสนใจในการดำเนินงานโครงการฯ จึงได้มีการขยายผล ในปี พ.ศ.2551 โดยมีเป้าหมายที่จะตรวจวิเคราะห์มะละกอในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้มีการขยายผลโครงการไปยัง จังหวัดนครราชสีมา ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำ นักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดชัยภูมิ