วิจัยและพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู
#1
วิจัยและพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู
อนุชิต ฉ่ำสิงห์, อัคคพล เสนาณรงค์, สุภาษิต เสงี่ยมพงศ์, พักตร์วิภา สุทธิวารี, ยุทธนา เครือหาญชาญพงค์, ขนิษฐ์ หว่านณรงค์ ประสาท แสงพันธุ์ตา
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

          ศึกษาสถานการณ์การเก็บเกี่ยว การใช้เครื่องขุดมันสำ ปะหลัง และพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู วิจัยและพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลังเพื่อปรับใช้ในการไถกลบฟางและตอซังข้าว พ่วงรถแทรกเตอร์ขนาด 50 แรงม้า ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถทำการขุดมันสำปะหลังได้อย่างต่อเนื่อง ผลการสำรวจพบว่ามีการเก็บเกี่ยว 2 รูปแบบหลัก คือ เก็บเกี่ยวโดยการใช้แรงงานคนทั้งหมดและการใช้เครื่องขุดมันสำปะหลังพ่วงรถแทรกเตอร์ร่วมกับการใช้แรงงานคน โดยรูปแบบหลังช่วยลดต้นทุน และการใช้แรงงานคนลง 37 และ 8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ พบปัญหาคอขวดที่สำคัญในระบบการเก็บเกี่ยว คือ ขั้นตอนหลังจากการถอนหรือขุดขึ้นมาจากดิน ซึ่งใช้แรงงานคนทั้งหมดและประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และพบว่าเครื่องขุดมันสำปะหลังที่มีใช้งานในปัจจุบันได้รับการยอมรับ นำไปใช้งานโดยเกษตรกรทั่วไประดับหนึ่ง มีหลายแบบแตกต่างกันตามขนาดรถแทรกเตอร์ต้นกำลัง ชนิดของผาลขุดปีกไถ ลักษณะการพลิกดิน โดยพบว่ายังมีความจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อลดแรงลากจูง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ลดการสึกหรอของรถแทรกเตอร์ ความสูญเสียและความเสียหายของหัวมันสำปะหลังจากการขุด ผลการวิจัยและพัฒนาได้เครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู ซึ่งมีผาลขุดแบบจานโค้ง สามารถปรับมุมและความยาวปีกไถตามชนิดและความชื้นดิน ซึ่งแก้ปัญหาข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ได้มากขึ้น ปรับเลื่อนตามระยะระหว่างแถวได้สะดวก ต้องการแรงลากจูงต่ำ มีความสามารถในการทำงาน 1.4 ไร่ต่อชั่วโมง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 2.9 - 3.4 ลิตรต่อชั่วโมง มีความสูญเสียหัวมันสำปะหลัง 2.3-5.0 เปอร์เซ็นต์ และความเสียหาย 40 เปอร์เซ็นต (ความเสียหายเนื่องจากการแตกหัก และหัวหลุดออกจากต้น) ซึ่งน้อยกว่าผลการทดสอบเครื่องขุดที่มีใช้งานอยู่แล้วพบว่า สามารถใช้เครื่องขุดมันสำปะหลังเพื่อการไถกลบฟางและตอซังข้าวในแปลงที่ทำการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวดข้าวที่มีแถบฟางหนา ซึ่งเป็นอุปสรรคในการไถเตรียมดินได้ดีกว่าการใช้ด้วยไถผาลเจ็ด โดยเปลี่ยนเฉพาะส่วนของปีกไถและติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกต้อง แต่มีข้อจำกัดเรื่องมีหน้ากว้างในการทำงานต่ำกว่าประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความสามารถในการทำงาน 0.81 ไร่ต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพการทำงาน 59 เปอร์เซ็นต์ สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 3.3 ลิตรต่อไร่ และเปอร์เซ็นต์การไถกลบฟางและตอซังข้าว 85 เปอร์เซ็นต์


ไฟล์แนบ
.pdf   1103_2551.pdf (ขนาด: 1.16 MB / ดาวน์โหลด: 1,603)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม