ผลของอายุเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตน้ำหนักสดและคุณภาพต้นสดของข้าวฟ่างหวานพันธุ์ต่างๆ
#1
ผลของอายุเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตน้ำหนักสดและคุณภาพต้นสดของข้าวฟ่างหวานพันธุ์ต่างๆ ในเขตชลประทาน
สุวิมล ถนอมทรัพย์, วิไลวรรณ พรหมคำ, เชาวนาถ พฤทธิเทพ และวันชัย ถนอมทรัพย์

          จากการตรวจสอบผลของอายุเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตและคุณภาพต้นสดของข้าวฟ่างหวาน 4 พันธุ์ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ปี 2550 - 51 พบว่า การทดลองปี 2550 และ 2551 ให้ผลการทดลองเป็นไปในแนวเดียวกัน คือ การเก็บเกี่ยวที่ระยะ Boot stage มีน้ำหนักต้นและใบสด และน้ำหนักต้นสดต่ำกว่าการเก็บเกี่ยวที่ระยะอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่การเก็บเกี่ยวที่ระยะ Half-bloom ถึง Physiological maturity ให้น้ำหนักต้นและใบสดและน้ำหนักต้นสด ไม่แตกต่างกันทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ปริมาณความแตกต่างขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวฟ่างหวาน โดยการเก็บเกี่ยวที่ระยะ Boot stage น้ำหนักต้นและใบสด และน้ำหนักต้นสด ต่ำกว่าการเก็บเกี่ยวที่ระยะ Half-bloom ถึง Physiological maturity ระหว่าง 14.3 - 25.3 และ 12.3 - 24.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับพันธุ์ Suwan Sweet และ 15.4 - 47.3 และ 20.8 - 37.5 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ สำหรับพันธุ์ Wray และ 19.2 - 61.1 และ 14.8 - 57.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับพันธุ์ Rio และ 15.4 – 31.3 และ 16.2 - 33.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับพันธุ์ KKU 40 ข้าวฟ่างหวานทุกพันธุ์มีความหวานสูงสุดที่ระยะ Hard dough และ Physiological maturity และต่ำสุด ที่ระยะ Boot stage โดยข้าวฟ่างพันธุ์ KKU 40 มีความหวานสูงสุด 17.6 - 21.25 องศาบริกซ์ และ พันธุ์ Wray มีความหวานต่ำสุด 13.6 - 14.02 องศาบริกซ์ การเก็บเกี่ยวตั้งแต่ระยะ Half-bloom ถึง Physiological maturity ให้ปริมาณน้ำคั้นต้นสดไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บเกี่ยวที่ระยะ Boot stage ที่มีปริมาณน้ำคั้น (123 - 320 ลิตร/ต้นสด 1 ตัน) ต่ำกว่าการเก็บเกี่ยวที่ระยะอื่นๆ 11.6 - 45.4, 16.3 - 62.6, 8.8 - 51.4 และ 16.7 - 26.6 เปอร์เซ็นต์ สำหรับพันธุ์ Suwan sweet Wray Rio และ KKU 40 ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1021_2551.pdf (ขนาด: 1.76 MB / ดาวน์โหลด: 392)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม