07-12-2016, 02:33 PM
การตอบสนองของมันสำปะหลังต่อการจัดการธาตุอาหารในกลุ่มดินร่วน : ชุดดินห้วยโป่ง
วัลลีย์ อมรพล, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ศรีสุดา ทิพยรักษ์, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข, ประพิศ วองเทียม และสมพงษ์ ทองช่วย
ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง, สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
วัลลีย์ อมรพล, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ศรีสุดา ทิพยรักษ์, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข, ประพิศ วองเทียม และสมพงษ์ ทองช่วย
ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง, สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังจำเป็นต้องมีการจัดการธาตุอาหารพืชที่มีประสิทธิภาพและมีความเฉพาะเจาะจงสำหรับพื้นที่ เนื่องจากปุ๋ยเคมีที่ใช้มีราคาแพง จึงได้ศึกษาการตอบสนองของมันสำปะหลังต่อการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในพื้นที่ดินร่วน เพื่อใช้เป็นคำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับมันสำปะหลังให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในพื้นที่ดินทรายปนร่วน ภาคตะวันออก โดยทำการทดลองในชุดดินห้วยโป่ง (Hp) อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ฤดูฝนปี 2554/2555 และปี 2555/2556 วางแผนการทดลองแบบ split plot 3 ซ้า ปัจจัยหลักประกอบด้วย มันสำปะหลัง 3 พันธุ์ ได้แก่ 1) พันธุ์ระยอง 9 2) พันธุ์ระยอง 11 และ 3) สายพันธุ์ CMR 46-47-137 ปัจจัยรองคือ อัตราปุ๋ย 10 กรรมวิธี ได้แก่ 1) 0-0-0 2) 0-8-16 3) 8-8-16 4) 16-8-16 5) 24-8-16 6) 16-0-16 7) 16-16-16 8) 16-8-0 9) 16-8-8 10) 16-8-24 กก.N-P2O5-K2O ต่อไร่ ผลการทดลอง พบว่า การใช้พันธุ์และปุ๋ยเคมี ไม่มีปฏิสัมพันธ์กันโดยมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ให้ผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้งสูงสุด 6,274 และ 1,970 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ พันธุ์ CMR46-47-137 ซึ่งให้ผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้ง 5,982 และ 1,792 กิโลกรัมต่อไร่ และพันธุ์ระยอง 11 ให้ผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้งต่ำสุด 5,941 และ 1,777 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ การใช้ปุ๋ยเคมีมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้งของมันสำปะหลังอย่างชัดเจน คือ การใชปุ๋ย 16-8-24 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ให้ผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้งสูงสุด 7,216 และ 2,210 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้มีรายได้และให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด มีกำไรสุทธิเฉลี่ยสูงสุด 13,586 บาท/ไร่ มันสำปะหลังท้ัง 3 พันธุ์ มีการดูดใช้โพแทสเซียมรวมทุกส่วน สูงกว่าไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยพันธุ์ระยอง 11 มีการดูดใช้ไนโตรเจนและโพแทสเซียมไปสะสมในหัวต่อตันผลผลิตสูงสุด การปลูกมันสำปะหลังซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ย 6,065 กิโลกรัมต่อไร่ มีการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมติดไปกับผลผลิตออกไปจากพื้นที่เฉลี่ยเท่ากับ 4.47, 5.56 และ 17.07 กก.N-P-Kต่อไร่ หรือเทียบเท่ากับปุ๋ยเคมีเท่ากับ 4.47 - 12.73-20.48 กก./N-P2O5-K2Oไร่