การสำรวจโรคใบขาวและความทนทานต่อโรคของอ้อยป่าและอ้อยลูกผสม
#1
การสำรวจโรคใบขาวและความทนทานต่อโรคของอ้อยป่าและอ้อยลูกผสม
ศุจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, วีระพล พลภักดี, สุนี ศรีสิงห์, นฤทัย วรสถิตย์ และมัทนา วานิชย์

          การตรวจสอบโรคใบขาวอ้อยโดยใช้วิธี Nested PCR สามารถตรวจพบแถบชิ้นดีเอ็นเอของเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคใบขาวอ้อยขนาดนิวคลีโอไทด์ 210 คู่เบส (base pair) ในตัวอย่างทั้งหมด 2,244 ตัวอย่าง ประกอบไปด้วย ใบอ้อย ตาอ้อย รากอ้อย เกสรอ้อย เนื้อเยื่ออ้อย และตัวอย่างอื่นๆ เช่น หญ้า เพลี้ยอ่อนอ้อยจากตัวอย่างทั้งหมดพบว่า อ้อยใบขาวตรวจพบโรคคิดเป็นร้อยละ 81.0 อ้อยใบเหลืองร้อยละ 75 เชื้อไฟโตพลาสมาร้อยละ 52.9 ดอกหญ้าและเกสรอ้อยใบขาว ร้อยละ 50.0 อ้อยใบด่าง (ขาว + เขียว) ร้อยละ 43.7 กอตะไคร้ร้อยละ 43.4 เพลี้ยอ่อนอ้อย ร้อยละ 36.4 อ้อยใบเขียวร้อยละ 29.7 หญ้าใบขาวร้อยละ 28.6 เนื้อเยื่ออ้อยใบขาว และหญ้าใบเขียวร้อยละ 25.0 เนื้อเยื่ออ้อยใบเขียว ร้อยละ 4.27 ตาอ้อยร้อยละ 3.3 ยอดอ้อยร้อยละ 3.1 หน่ออ้อยร้อยละ 2.7 รากอ้อยร้อยละ 2.3 เมล็ดอ้อย ดอกอ้อย และกล้าอ้อยร้อยละ 0.0 ส่วนผลการตรวจเชื้อในอ้อยลูกผสมกับอ้อยป่า Erianthus spp. พบว่ามีเชื้อแต่ไม่มีการแสดงอาการของใบขาว แต่อ้อยลูกผสมกับอ้อยป่า Spontanium spp. มีการแสดงอาการของใบขาว


ไฟล์แนบ
.pdf   893_2551.pdf (ขนาด: 964.3 KB / ดาวน์โหลด: 695)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม