การพัฒนาระบบการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศในฟาร์มผลิตพืชอินทรีย์
#1
การพัฒนาระบบการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศในฟาร์มผลิตพืชอินทรีย์
สมปอง หมื่นแจ้ง, ประไพ ทองระอา, กัลยกร โปร่งจันทึก, ประสาท เปลี่ยนสิน, ไพทูรย์ พูลสวัสดิ์, สุทัด ปินเสน, กุลธิดา ดอนอยู่ไพร, อุชฎา สุขจันทร์, สุกิจ รัตนศรีวงค์, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, ศิริจันทร์ อินทร์น้อย, เพทาย กาญจนเกสร, สมพงษ์ กาทอง, กมลภัทร์ ศิริพงษ์, พงษ์มานิตย์ ไทยแท้, บรรเทา จันทร์พุ่ม, อัมรา หาญจวณิช, อัจฉรา นันทกิจ, ประภาศรี จงประดิษฐ์นันท์, ณัณจณา ลือตระกูล
สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, สำนักมาตรฐานและตรวจสอบสินค้าส่งออก, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 2, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 3, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 4, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 5, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 6, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 7 และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 8

          การพัฒนาระบบการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศในฟาร์มผลิตพืชอินทรีย์ ดำเนินการโดยสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรร่วมกับสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 1-8 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รูปแบบระบบการผลิตปุ๋ยหมักเติมอากาศที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ใช้งานง่าย และสามารถใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการในฟาร์มเกษตรกรผลิตพืชอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Organic Thailand จากกรมวิชาการเกษตร ครอบคลุมพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 1-8 รวม 12 แห่ง ระหว่างเดือนตุลาคม 2552 ถึงกันยายน 2554 ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของรูปแบบระบบเติมอากาศที่พัฒนาขึ้นใหม่มีความจุ 60 ลูกบาศก์เมตร ผลิตปุ๋ยหมักได้ครั้ง 30 ตัน ใช้เวลาหมักในระบบหมักเติมอากาศ 30 วันต่อครั้ง ปีละ 8 ครั้ง มีศักยภาพในการผลิตปุ๋ยหมักรวมทั้งสิ้น 240 ตันต่อปี โครงสร้างของระบบหมักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีหลังคากระเบื้องลูกฟูกใยหิน ประกอบด้วยซองหมัก 2 ซอง ความจุซองละ 30 ลูกบาศก์เมตร มีช่องเป่าอากาศด่านล่างกึ่งกลางซองหมัก ใช้พัดลมอัดอากาศ เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดลม 10 นิ้ว เปิด-ปิดด้วยนาฬิกาอัตโนมัติ โดยเปิดครั้งละ 1 ชั่วโมง และปิดครั้งละ 3 ชั่วโมง วันละ 6 ครั้ง ผลวิเคราะห์ปุ๋ยหมักระบบเติมอากาศพบว่า ปุ๋ยหมักที่ได้มีคุณภาพสูง เป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำตามประกาศกรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ช่วยลดต้นทุนในการกลับกองปุ๋ยหมักได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิภาพสูงในการใช้ในระบบการผลิตผักและผลไม้อินทรีย์


ไฟล์แนบ
.pdf   1890_2554.pdf (ขนาด: 154.2 KB / ดาวน์โหลด: 1,092)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม