การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดินก่อนปลูกเพื่อผลิตพริกขี้หนูในระบบอินทรีย์และเคมี
#1
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดินก่อนปลูกเพื่อผลิตพริกขี้หนูในระบบอินทรีย์และเคมี
พรพรรณ สุทธิแย้ม, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, วิมลรัตน์ ดำขำ, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ และจารุวรรณ ธ

          เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆในการปรับปรุงดินก่อนปลูกพริกในระบบอินทรีย์และเคมี จึงทำการทดลองในพริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์ศรีสะเกษ 13 หรือพันธุ์หัวเรือโดยวางแผนการทดลองแบบ Split plot design 4 ซ้ำ main plot คือระบบการผลิต 2 ระบบ ได้แก่อินทรีย์และเคมี และ sub plot คือ ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ 4 ระดับ ได้แก่ ปุ๋ยพืชสด (โสนอัฟริกันที่ศวร.เชียงใหม่ และถั่วพุ่มที่ศวร.อุบลราชธานี) ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ (โบกาชิ) 150 กก./ไร่ ปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ และไม่ปรับปรุงดิน ทำคันกั้นระหว่างแปลงย่อย ดำเนินการในฤดูแล้งที่ศวร.เชียงใหม่และ ศวร.อุบลราชธานี เป็นเวลา 3 ปี (2549 - 2551) ปี 2549 ถือว่าเป็นระยะปรับเปลี่ยน ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดมีผลในการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเพิ่มอินทรียวัตถุจาก 0.4% เป็น 0.8 - 1.1% (ศวร.เชียงใหม่) และจาก 0.7% เป็น 0.7-1.0% (ศวร.อุบลราชธานี) ความเป็นกรดด่างของดิน (pH) ถูกปรับให้อยู่ในระดับเป็นกลาง (pH=7) ในปีที่ 3 แม้ว่าผลผลิตพริกจะต่ำทั้งระบบอินทรีย์และเคมี ขนาดผลสั้น โดยผลผลิตพริกสดในระบบอินทรีย์เฉลี่ยอยู่ในช่วง 79.9 - 95.8  กก./ไร่ และระบบเคมีอยู่ในช่วง 64.4 - 249.2 กก./ไร่ ที่ศวร.เชียงใหม่ ส่วนที่ ศวร.อุบลราชธานี ผลผลิตพริกสดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 87.1 - 275.8 กก./ไร่ และระบบเคมีในช่วง 96.1 - 442.6 กก./ไร่ ค่าดัชนีความเผ็ด (สาร Capsaicin) ไม่แสดงความแตกต่างที่ชัดเจน เนื่องจากชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ หรือระบบการผลิต ยกเว้นที่ ศวร.เชียงใหม่ ในปี 2551 ซึ่งระบบอินทรีย์ (49,126 - 80,734 Scoville unit) ให้ค่าความเผ็ดมากกว่าระบบเคมี (22,173 - 43,918 Scoville unit) และความงอกของเมล็ดพันธุ์พริกสูงทั้งที่ ศวร.เชียงใหม่ (79.6%) และศวร.อุบลราชธานี (81.5 - 94.0%)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม