05-19-2016, 02:07 PM
การศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมหญ้าสาบ Prexelis; Prexelis clematidea R.M.King & H.Rob.
เพ็ญศรี นันทสมสราญ, ภัทร์พิชชา รุจิรพงศ์ชัย, สิริชัย สาธุวิจารณ์ และศิริพร วรกุลดำรงชัย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน
เพ็ญศรี นันทสมสราญ, ภัทร์พิชชา รุจิรพงศ์ชัย, สิริชัย สาธุวิจารณ์ และศิริพร วรกุลดำรงชัย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน
การทดลองประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมหญ้าสาบ ดำเนินการทดลองเบื้องต้นในเรือนทดลอง ผลการทดลองพบว่า เมล็ดหญ้าสาบที่เก็บมาเพาะสามารถงอกได้ทันที การควบคุมหญ้าสาบด้วยสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกได้ดีมาก (คะแนน = 10) ได้แก่ paraquat, glufosinate ammonium และรองลงมาควบคุมได้ดี (คะแนน = 9) คือ glyphosate โดยสัมพันธ์กับน้ำหนักแห้งของวัชพืช ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ส่วนสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกที่ได้ผลดีมีประสิทธิภาพในการควบคุมหญ้าสาบได้ดีมาก (คะแนน = 10) ได้แก่ flumioxazin, oxyfluorfen, diuron, metsulfuron methyl + clorimuron, propisochlor และ atrazine ในสภาพแปลงทุเรียนและเงาะสารกำจัดวัชพืชที่ได้ผลดีมีประสิทธิภาพโดยประเมินด้วยสายตา และมีน้ำหนักแห้งในแปลงวัชพืชที่ได้ผลดีมีน้ำหนักจากน้อยไปหามากคือได้แก่ flumioxazin, กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน, oxyfluorfen, diuron, paraquat, glufosinate ammonium และ glyphosate ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ในกรรมวิธี metsulfuron methyl ให้เส้นรอบวงและความสูงของต้นทุเรียนมากที่สุด ประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชในแปลงเงาะ สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกที่ได้ผลดีมากคือ flumioxazin ส่วนประเภทหลังงอกได้ดีมากคือ paraquat โดยสารกำจัดวัชพืชทั้งหมดไม่มีความเป็นพิษต่อต้นทุเรียนและเงาะ จำนวนต้นวัชพืชในเงาะ flumioxazin มีจำนวนต้นน้อยที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกับกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ซึ่งสัมพันธ์กับน้ำหนักแห้งของวัชพืชโดยทุกกรรมวิธีที่มีการกำจัดวัชพืช ซึ่งรวมทั้งการใช้แรงงานมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช