การศึกษาประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ในพืชเศรษฐกิจ (ถั่วเหลืองฝักสด)
#1
การศึกษาประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ในพืชเศรษฐกิจ (ถั่วเหลืองฝักสด)
คมสัน นครศรี, จรัญญา ปิ่นสุภา, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, กลอยใจ คงเจี้ยง และทิพย์ดรุณี สิทธินาม
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี

          การศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชในถั่วเหลืองฝักสด วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ 13 กรรมวิธี ประกอบด้วย สาร imazapic, clethodim, acifluorfen, fomesafen, propaquisafop, clodinafop-propagyl, fluazifop-p-butyl, fenoxaprop-p-ethyl, haloxyfopmethyl, quizalofop-p-tefuryl, fluazifop-p-butyl + fomesafen และ haloxyfopmethyl + fomesafen อัตรา 24, 48, 38.4, 50, 15, 12, 24, 14, 20, 15, 24+50 และ 20+50 กรัมai/ไร่ เปรียบเทียบกับวิธีกำจัดวัชพืชด้วยมือ และวิธีไม่กำจัดวัชพืช ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2553 พบว่า สาร fluazifop-p-butyl, fenoxaprop-p-ethyl, haloxyfop-methyl, quizalofop-p-tefuryl และ clethodim ไม่เป็นพิษต่อถั่วเหลืองฝักสด สารกำจัดวัชพืชชนิดอื่นเป็นพิษต่อถั่วเหลืองเพียงเล็กน้อย ยกเว้นสาร imazapic เป็นพิษต่อถั่วเหลืองปานกลาง สารกำจัดวัชพืชใบแคบหรือใบกว้างมีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืช แต่ละประเภทได้ดี ส่วนสาร imazapic, fluazifop-p-butyl + fomesafen และ haloxyfop-methyl + fomesafen สามารถกำจัดวัชพืชได้ทั้งใบแคบและใบกว้างได้ดี สารกำจัดวัชพืช clodinafop-propagyl, haloxyfop-methyl และ quizalofop-p-tefuryl ให้ความสูงต้นถั่วเหลืองมากกว่าและแตกต่างกันทางสถิติ กรรมวิธีการกำจัดวัชพืชมีจำนวนต้นถั่วเหลืองต่อพื้นที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ สาร fluazifop-pbutyl + fomesafen, haloxyfop-methyl + fomesafen และการกำจัดวัชพืชด้วยมือ มีจำนวนฝักต่อต้นน้ำหนักฝักต่อต้นและผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดมากกว่าและแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีอื่นๆ ซึ่งให้ผลผลิต 718.5, 651.5 และ 954.1 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1558_2553.pdf (ขนาด: 104.56 KB / ดาวน์โหลด: 1,066)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม