การประเมินโรคอ้อยในพันธุ์อ้อยเพื่อการสนับสนุนการผลิตเอทานอลและการกระจายผลผลิต - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การประเมินโรคอ้อยในพันธุ์อ้อยเพื่อการสนับสนุนการผลิตเอทานอลและการกระจายผลผลิต (/showthread.php?tid=977) |
การประเมินโรคอ้อยในพันธุ์อ้อยเพื่อการสนับสนุนการผลิตเอทานอลและการกระจายผลผลิต - doa - 12-25-2015 การประเมินโรคอ้อยในพันธุ์อ้อยเพื่อการสนับสนุนการผลิตเอทานอลและการกระจายผลผลิต สุนี ศรีสิงห์, วิภาวรรณ กิติวัชระเจริญ, วาสนา วันดี , วัลลิภา สุชาโต และวาสนา ยอดปรางค์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี โรคแส้ดำของอ้อยเป็นโรคที่มีความสำคัญโรคหนึ่ง ที่ทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงโดยตรงโดยเฉพาะในอ้อยตอ การใช้พันธุ์ต้านทานต่อโรคเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันกำจัด ในการปรับปรุงพันธุ์จึงมีความจำเป็นต้องทราบปฏิกิริยาต่อโรคก่อนแนะนำสู่เกษตรกร ทำการประเมินความต้านทานต่อโรคบนอ้อยลูกผสมเพื่อการผลิตเอทานอล จำนวน 7 โคลนเปรียบเทียบกับพันธุ์ LK92-11 และ Marcos ที่เป็นเปรียบเทียบต้านทานและอ่อนแอตามลำดับ ปลูกเชื้อด้วยวิธีแช่ท่อนพันธุ์ขนาด 2 ตาแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำผสมสปอร์เข้มข้น 5 x 10(6) สปอร์นาน ประมาณ 30 นาที บ่มเชื้อ 1 คืน ก่อนปลูก อ้อยเมื่อ 14 สิงหาคม2556 ตัดอ้อยปลูกที่อายุ 10 เดือน ตรวจเช็คการเกิดโรคทั้ง ในอ้อยปลูก และอ้อยตอ พบว่า อ้อยปลูกเริ่มแสดงอาการแส้ดำเมื่ออายุ 4 เดือน พันธุ์อ้อยทดสอบทั้งหมดยกเว้นโคลน 103 และ 104 อ่อนแอต่อโรคแส้ดำ ทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ |