การศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมแหนแดงที่ใช้เป็นวัสดุพาสำหรับการผลิตปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมแหนแดงที่ใช้เป็นวัสดุพาสำหรับการผลิตปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต (/showthread.php?tid=962) |
การศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมแหนแดงที่ใช้เป็นวัสดุพาสำหรับการผลิตปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต - doa - 12-25-2015 การศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมของแหนแดงที่ใช้เป็นวัสดุพาสำหรับการผลิตปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต และประไพ ทองระอา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร การศึกษาการใช้แหนแดงเป็นวัสดุพาเพื่อใช้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต โดยทดลองใช้แหนแดงแห้ง ปุ๋ยหมักมูลโค แหนแดงแห้งผสมกับปุ๋ยหมักมูลโคสัดส่วน 1:3 และ 1:5 ตามลำดับ พบว่าวัสดุพาแหนแดงสามารถทำให้จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตมีปริมาณตามระยะเวลาที่พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดไว้ที่ 1 x10(8) CFU/g ที่ระยะเวลาเก็บรักษาไม่ต่ำกว่า 180 วัน (6 เดือน) โดยในวัสดุพาแหนแดงมีปริมาณ จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต 1.6x10(8) CFU/g ที่ 180 วันหลังการเก็บรักษา และในที่ขณะเก็บรักษาจุลินทรีย์ในวัสดุพาแหนแดงมีแนวโน้มทำให้ปริมาณสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ 30 วันหลังการเก็บรักษา มีปริมาณเพิ่มสูงถึง 1.3x10(11) CFU/g ถึงแม้เก็บรักษาไว้นาน 90 วัน ปริมาณจุลินทรีย์ก็ยังสูง คือ 1.1x10(10) CFU/g ในขณะที่วัสดุพาชนิดอื่น คือ ปุ๋ยหมักมูลโค และแหนแดงผสมปุ๋ยหมักมูลโคอัตรา 1:3 และ 1:5 มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีแนวโน้มลดลง และลดต่ำกว่า 1 x10(8) CFU/g เมื่อระยะเวลาผ่านไป 180 วัน ซึ่งการใช้แหนแดงเป็นวัสดุพานั้นมีแนวโน้มที่จะสามารถนำมาใช้เพื่อทดแทนพีทได้ดี
|