คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในอ้อย - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: ศึกษาการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในอ้อย (/showthread.php?tid=959)



ศึกษาการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในอ้อย - doa - 12-25-2015

ศึกษาการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในอ้อย
สิริชัย สาธุวิจารณ์, สุพัตรา ชาวกงจักร์, นิมิต วงศ์สุวรรณ, จรรยา มณีโชติ และตรียนัย ตุงคะเสน
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

          การศึกษาการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในอ้อย เพื่อให้ได้วิธีการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด ปลอดภัย ลดต้นทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตอ้อย ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2555 - กันยายน 2556 ณ แปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ มี 10 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสารกำจัดวัชพืช 2,4-D, hexazinone, paraquat, triclopyr, glyphosate, fluroxypyr, glyphosate+2,4-D และ glufosinate ammonium อัตรา 200, 200, 200, 150, 220, 32, 220+240 และ 150 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ กรรมวิธีกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานและกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ปฏิบัติและดูแลรักษาอ้อยที่ปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืช ที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืช พบว่า ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืช ที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืช พบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat, triclopyr, glyphosate, fluroxypyr, glyphosate+2,4-D และ glufosinate ammonium สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี โดยวัชพืชเถาเลื้อยที่สามารถควบคุมได้ คือ สะอึก (Ipomoea gracillis R. Br.) กระทกรก (Passiflora foetida L.) ตดหมูตดหมา (Paedaria foetida L.) และ ถั่วลาย (Centrosema pubescens Benth.)