การพัฒนารูปแบบการป้องกันกำจัดโรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่งแบบผสมผสาน - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การพัฒนารูปแบบการป้องกันกำจัดโรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่งแบบผสมผสาน (/showthread.php?tid=954) |
การพัฒนารูปแบบการป้องกันกำจัดโรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่งแบบผสมผสาน - doa - 12-23-2015 การพัฒนารูปแบบการป้องกันกำจัดโรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่งแบบผสมผสาน ทัศนาพร ทัศคร, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ธารทิพย ภาสบุตร และพีระวรรณ พัฒนวิภาส กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จากการทดสอบวิธีการป้องกันกำจัดโรคลำต้นไหม้หน่อไม้ฝรั่งโดยนำวิธีการต่าง ๆ ที่ได้ทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพมาใช้ร่วมกัน เพื่อนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบการนำไปใช้ในสภาพแปลงให้เหมาะสม โดยทำการทดลองจำนวน 2 แปลงทดลอง ที่อำเภอท่าม่วง และอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ผลการทดลองแปลงที่ 1 พบว่า วิธีการพ่นสาร carbendazim 50% W/V/SC อัตรา 20 ม.ล.ต่อน้ำ 20 ลิตร หลังการพักต้น 30 วัน (ระยะก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต) จำนวน 2 ครั้ง ร่วมกับวิธีการใส่เชื้อสด T. harzianum + รำข้าว + ปุ๋ยหมัก กทม. ทุก 15 วัน และกรรมวิธีใส่ผงเชื้อ B. subtilis ทุก 15 วัน หรือใช้ร่วมกันกับการพ่นสาร azoxystrobin 25% W/V/SC ทุก 7 วัน (ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต) จากการประเมินความรุนแรงของโรคในรุ่นที่ 1 ทั้งหมด 4 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีสามารถลดระดับความรุนแรงของโรคได้ดีกว่าการไม่ใส่เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ และในกรรมวิธีที่ใส่เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพียงอย่างเดียวมีระดับการเกิดโรคต่ำกว่ากรรมวิธีที่ใส่เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ร่วมกับการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช และกรรมวิธีพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเดียว และในรุ่นที่ 2 ทำการประเมินความรุนแรงของโรค ทั้งหมด 4 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีที่ใช้สามารถควบคุมโรคได้ดีมีค่าระดับความรุนแรงโรคต่ำกว่าการไม่ใส่เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ และในกรรมวิธีที่ใส่เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพียงอย่างเดียว หรือการใช้ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ส่วนผลการทดลองในแปลงที่ 2 ซึ่งได้ทำการทดลองเพียง 1 รุ่น ดำเนินการทดลองเช่นเดียวกันกับแปลงที่ 1 จากการประเมินโรคทั้งหมด 4 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีที่ใช้สามารถควบคุมโรคได้ดีมีค่าระดับความรุนแรงโรคต่ำกว่าวิธีการไม่ใส่เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ให้ผลสอดคล้องกับแปลงทดลองที่ 1 และพบว่าในกรรมวิธีที่ใส่เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพียงอย่างเดียว หรือการใช้ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชมีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเดียว
|