การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของเมล็ดพันธุ์พริกนำเข้าจากอินโดนีเซีย - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของเมล็ดพันธุ์พริกนำเข้าจากอินโดนีเซีย (/showthread.php?tid=95) |
การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของเมล็ดพันธุ์พริกนำเข้าจากอินโดนีเซีย - doa - 10-13-2015 การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของเมล็ดพันธุ์พริกนำเข้าจากอินโดนีเซีย วาสนา ฤทธิ์ไธสง, สุรพล ยินอัศวพรรณ, ณัฎฐพร อุทัยมงคล และสุคนธ์ทิพย์ สมบัติ กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ผลการรวบรวมข้อมูลศัตรูพืชของพริกที่พบในไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซียพบศัตรูพืชรวม 144 ชนิด สามารถจัดลำดับศัตรูพืชได้ดังนี้ คือ ไร 5 ชนิด แมลง 62 ชนิด แบคทีเรีย 12 ชนิด รา 30 ชนิด ไวรัส 13 ชนิด ไส้เดือนฝอย 7 ชนิด วัชพืช 14 ชนิด และสัตวฟันแทะ 1 ชนิด โดยพบศัตรูพืชที่มีในสาธารณรัฐอินโดนีเซียจำนวน 121 ชนิด เป็นไร 4 ชนิด แมลง 54 ชนิด รา 20 ชนิด แบคทีเรีย 9 ชนิด ไวรัส 12 ชนิด ไส้เดือนฝอย 7 ชนิด วัชพืช 14 ชนิด และสัตว์ฟันแทะ 1 ชนิด ทำการจัดลำดับศัตรูพืชของพริกที่จะวิเคราะห์ (Pest categorization) พบว่ามีศัตรูพืชกักกันที่มีโอกาสติดมากับเมล็ดพันธุ์พริกนำเข้าจากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้แก่ แบคทีเรีย Clavibacter michiganensis subsp. michiganensis, Pseudomonas marginalis pv. marginalis เชื้อรา Chalara elegans และไวรัส Tobacco ringspot virus, Pepper yellow leaf curl Indonesia virus ซึ่งศัตรูพืชมีโอกาสติดเข้ามากับเมล็ดพันธุ์พริกนำเข้าจากสาธารณรัฐอินโดนีเซียโดยการปนเปื้อนเข้ามากับเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้าเชื้อสาเหตุโรคบางชนิดไม่ทำให้เมล็ดพันธุ์พืชแสดงอาการผิดปกติจึงไม่สามารถสังเกตลักษณะการอาการผิดปกติจากภายนอกได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเจริญและแพร่ระบาดได้ในประเทศไทยเนื่องจากปัจจัยทางด้านภูมิอากาศที่เหมาะสมและใกล้เคียงกับประเทศต้นทาง ทั้งยังมีพืชอาศัยหลายชนิดที่เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผลิตผลทางการเกษตรรวมทั้งการส่งออกพืชผักไปยังประเทศที่ไม่มีการระบาดของเชื้อสาเหตุโรคเหล่านี้
จากผลการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของเมล็ดพันธุ์พริกนำเข้าจากสาธารณรัฐอินโดนีเซียจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการกำหนดมาตรการทางสุขอนามัยพืช เนื่องจากมีศัตรูพืชกักกันหลายชนิดที่เป็นศัตรูพืชร้ายแรงและมีความเสี่ยงสูงซึ่งมีโอกาสติดเข้ามากับเมล็ดพันธุพริกนำเข้าจากสาธารณรัฐอินโดนีเซียเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทยได้ โดยจะต้องดำเนินการกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชของเมล็ดพันธุ์พริกนำเข้าต่อไป
|