คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลสถิติยางของประเทศไทย - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลสถิติยางของประเทศไทย (/showthread.php?tid=938)



การวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลสถิติยางของประเทศไทย - doa - 12-23-2015

การวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลสถิติยางของประเทศไทย
จันทวรรณ คงเจริญ และธมลวรรณ  ขิวรัมย์
กลุ่มควบคุมยางตามพระราชบัญญัติ  สถาบันวิจัยยาง 

          ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่และสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกร ทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้แก่ประชาชน การรวบรวม วิเคราะห์ และจัดทำฐานข้อมูลยางพารานั้นจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีโดยแบ่งเป็น 4 ไตรมาส ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม เพื่อจัดทำหนังสือสถิติยางของประเทศไทย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกผู้ผลิตและใช้ยาง ในปี 2553 ประเทศไทยผลิตยางได้ 3.25 ล้านตัน มากกว่าปีก่อนที่ผลิตได้ 3.16 ล้านตัน ยางที่ผลิตได้มากที่สุดคือ ยางแท่งเอสทีอาร์จำนวน 1.24 ล้านตัน ส่งออก 2.87 ล้านตันและยางที่ส่งออกมากที่สุดก็เป็นยางแท่งเอสทีอาร์และที่ส่งออกมากที่สุดก็คือ ยางแท่งเอสทีอาร์ชั้น 20 ประเทศผู้ซื้อปลายทางที่ไทยส่งออกไปมากที่สุดได้แก่ ประเทศจีน รองลงมาคือ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และยุโรป ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกยางทั้งหมดของไทยจำนวน 249,262 ล้านบาท โดยผ่านด่านปาดังเบซาร์มากที่สุด รองลงมาเป็นท่าเรือแหลมฉบัง นอกจากส่งออกแล้วยังมีการใช้ยางภายในประเทศเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จำนวน 458,637 ตัน ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ยางธรรมชาติมากที่สุดในปี 2553 คือ ผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะ นอกจากนี้ยังมียางคงเหลือสิ้นปีจำนวน 227,252 ตัน 

          การได้มาซึ่งข้อมูลด้านต่างๆ ของยางพารานั้นเป็นการรวบรวมจากหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งที่สังกัดสถาบันวิจัยยางและไม่ได้สังกัดสถาบันวิจัยยาง นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรมศุลกากร และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ทำให้การประสานงานด้านข้อมูลค่อนข้างล่าช้า ประกอบกับบางหน่วยงานยังขาดแคลนทั้งเครื่องมือและระบบทางอินเตอร์เน็ต