คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
วิจัยและพัฒนาสารจากแมงลักป่าเพื่อการป้องกันกำจัดวัชพืช - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: วิจัยและพัฒนาสารจากแมงลักป่าเพื่อการป้องกันกำจัดวัชพืช (/showthread.php?tid=934)



วิจัยและพัฒนาสารจากแมงลักป่าเพื่อการป้องกันกำจัดวัชพืช - doa - 12-23-2015

วิจัยและพัฒนาสารจากแมงลักป่าเพื่อการป้องกันกำจัดวัชพืช
จรัญญา ปิ่นสุภา และคมสัน นครศรี
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การหาอัตราของสารสกัดจากแมงลักป่าที่เหมาะสมในสภาพเรือนทดลอง เพื่อควบคุมวัชพืชหลังงอกและไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก โดยนำส่วนใบสดของแมงลักป่าหมักกับน้ำ 3 อัตรา คือ 1:1 1:2 1:3 (แมงลักป่าสด:น้ำ) และนำน้ำหมักที่ได้มาผสมสารจับใบพ่นวัชพืชหลักที่เป็นปัญหาในพืชไร่ ได้แก่ ผักขม (Amaranthus viridis L.) ผักเสี้ยนผี (Cleome viscose L.) หญ้ายาง (Euphorbia heterophylla L.) หญ้าตีนติด (Brachiaria reptans L.) และหญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium L.) พ่นแบบหลังวัชพืชงอกพบว่า การพ่นสารสกัดแมงลักป่าทุกอัตราบนผักเสี้ยนผี หญ้ายาง หญ้าตีนติด และหญ้าปากควายแสดงอาการเป็นพิษ ใบหงิกและเหี่ยว และหลังจากนั้นใบจะมีสีน้ำตาลหรือใบแห้ง โดยเฉพาะการพ่นสารสกัดอัตรา 1:1 และ 1:1 ผสมสารจับใบ แสดงอาการเป็นพิษมากว่าสารสกัดอัตราอื่น ๆ ส่วนผักขมการพ่นสารสกัดทุกอัตราไม่แสดงอาการเป็นพิษ สารสกัดฯ ในอัตรา 1:1 และ 1:1 ผสมสารจับใบ มีผลกระทบต่อความสูงของผักเสี้ยนผี หญ้าตีนติด และหญ้าปากควาย และมีความสูงต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับไม่ได้พ่นสารสกัดฯ หลังจากพ่นสารสกัดได้ในระยะ 14 วัน ส่วนผักขมและหญ้ายาง การพ่นสารสกัดไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตในด้านความสูง ในสภาพแปลงปลูกข้าวโพดหวานและถั่วเหลืองฝักสดการพ่นสารสกัดอัตรา 1:1 และ 1:1 ผสมสารจับใบ ผักเสี้ยนผีแสดงอาการใบหงิกเพรียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนวัชพืชตัวอื่น ๆ แสดงอาการปกติ