คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การพัฒนาระบบการจัดการวัชพืชเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การพัฒนาระบบการจัดการวัชพืชเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน (/showthread.php?tid=927)



การพัฒนาระบบการจัดการวัชพืชเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน - doa - 12-23-2015

การพัฒนาระบบการจัดการวัชพืชเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืนของชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จรรยา มณีโชติ, วนิดา ธารถวิล, สุพัตรา ชาวกงจักร์, สิริชัย สาธุวิจารณ์ และชุติมา รัตนเสถียร
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกองคุ้มครองพันธุ์พืช

          จากการสำรวจระบบการจัดการวัชพืชเพื่อการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืนของชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า วัชพืชเป็นปัญหาสำคัญในการปลูกส้มสายน้ำผึ้งในชุมชน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และมันสำปะหลังในชุมชนห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ทำให้เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลผลิต จึงได้ทดสอบวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืช เปรียบเทียบกับการใช้แรงงานจอบถากในสวนส้มของชุมชนในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า สารกำจัดวัชพืช glufosinate - ammonium อัตรา 90 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ให้ผลดีที่สุด สามารถควบคุมผักปราบสองชนิด ได้แก่ Commelina benghalensis และ C. diffusa ได้นาน 2 เดือน และมีการแตกต้นใหม่ช้ากว่ากรรมวิธีอื่น ๆ ส่วน paraquat อัตรา 120 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ สามารถควบคุมผักปราบได้เพียง 1 เดือน ก่อนที่ผักปราบจะแตกต้นใหม่ ส่วน glyphosate อัตรา 240 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ทำให้ผักปราบชะงักการเจริญเติบโตได้เพียง 2 - 3 สัปดาห์ ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชในมันสำปะหลังของชุมชนห้วยบงพบว่า สารกำจัดวัชพืช alachlor, acetochlor, dimenthenamid, diuron, flufenacet, flumioxazin isoxaflutole, oxyfluorfen, pendimethalin, s-metolachlor อัตรา 384, 400, 270, 640, 30, 10, 48, 165 และ 192 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีเป็นเวลานาน 60 วัน โดยสามารถควบคุมวัชพืชใบแคบเช่นหญ้าตีนติด หญ้าปากควาย หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู วัชพืชใบกว้าง เช่น ผักปราบ หญ้ายาง ผักโขม สาบม่วง ตีนตุ๊กแก ผักโขมหิน และตำแยไฟได้ดี โดยเป็นพิษเล็กน้อยต่อมันสำปะหลังจากการทำแปลงทดลองในชุมชนทั้งสองแห่งสามารถใช้เป็นแปลงเรียนรู้ของเกษตรกรในชุมชนนำไปปฏิบัติเพื่อการจัดการวัชพืชเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชอย่างยั่งยืนต่อไป