การศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดของแมลงศัตรูเห็ด - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดของแมลงศัตรูเห็ด (/showthread.php?tid=917) |
การศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดของแมลงศัตรูเห็ด - doa - 12-23-2015 การศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดของแมลงศัตรูเห็ด อุราพร หนูนารถ, สัญญาณี ศรีคชา และพฤทธิชาติ ปุญวัฒโท กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ในปี พ.ศ. 2553 ดำเนินการทดลองในโรงเพาะเห็ดที่เกษตรกลางบางเขน โดยนำก้อนเชื้อที่หยอดเชื้อแล้ว เชื้อเดินประมาณ 25% เข้าไปในโรงเรือน ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพสารในการป้องกันแมลงศัตรูเห็ด ในระยะบ่มก้อนเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 8 กรรมวิธี คือ สารสกัดจากสะเดา (สะเดาไทย) อัตรา 200 มล./น้ำ 20 ลิตร, Diflubenzuron (Dimilin) อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, ไส้เดือนฝอย Steinerma carpocapsae 1 ซอง/น้ำ 2 ลิตร, คาร์บาริล (Sevin 85 wp) อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, คาร์โบซัลแฟน (Posses 20% EC) อัตรา 60 มล./น้ำ 20 ลิตร, เบต้าไซฟลูทริน (Folitec 2.5% EC) อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร, สปินโนแซด (Success 120 SC) อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสารทดลองพบว่า Diflubenzuron (Dimilin) อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และสปินโนแซด (Success 120 SC) มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันในระยะบ่มก้อนได้ดี
|