การให้บริการวิเคราะห์สารพิษตกค้างภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตพืช - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การให้บริการวิเคราะห์สารพิษตกค้างภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตพืช (/showthread.php?tid=911) |
การให้บริการวิเคราะห์สารพิษตกค้างภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตพืช - doa - 12-23-2015 การให้บริการวิเคราะห์สารพิษตกค้างภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตพืช (พริก GAP) ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง อิทธิพล บ้งพรม, นาตยา จันทร์ส่อง, สรศักดิ์ มณีขาว, จำลอง กกรัมย์, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, โสภิตา สมคิด, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, สมพงษ์ ชมภูนุกูลรัตน์, สมใจ โควสุรัตน์, บุญเหลือ ศรีมุงคุณ, อรอนงค์ วรรณวงษ์ และศิริรัตน์ กริชจนรัช สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 และศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารพิษตกค้าง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 ให้บริการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตพริกจากโครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ ภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ในปี 2553 รวมทั้งสิ้น 192 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง 147 ตัวอย่าง คิดเป็น 76.56 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนนี้พบสารพิษตกค้างเกินค่าความปลอดภัย (MRL) 83 ตัวอย่าง คิดเป็น 43.23 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างทั้งหมด และคิดเป็น 56.46 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่พบสารทั้งหมด โดยตัวอย่างพริกที่พบสารทั้งหมดจะเป็นพริกที่ปลูกในฤดูแล้ง ส่วนพริกที่ปลูกในฤดูฝน 15 ตัวอย่าง ไม่พบสารพิษตกค้างทุกตัวอย่าง และชนิดสารที่ตรวจพบมากที่สุดเป็นสารกลุ่มไพรีทรอยด์ คือ cypermethrin 99 ตัวอย่าง คิดเป็น 67.35 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่พบสาร และพบเกินค่า MRL 41 ตัวอย่าง คิดเป็น 41.41 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่พบสารชนิดนี้ แต่คิดเป็น 49.40 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่พบสารเกินค่า MRL ทั้งหมด ปริมาณที่พบ 0.005-4.49 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ค่า Codex MRL 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สารที่พบมากรองลงมาเป็นสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คือ chlorpyrifos 86 ตัวอย่าง คิดเป็น 58.80 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่พบสาร และพบเกินค่า MRL 29 ตัวอย่าง คิดเป็น 34.94 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้างเกินค่า MRL ปริมาณที่พบ 0.001-12.87 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ค่า Codex MRL 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และพบ profenofos 71 ตัวอย่าง คิดเป็น 48.30 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่พบสาร และพบเกินค่า MRL 24 ตัวอย่าง คิดเป็น 28.92 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่พบสารเกินค่า MRL ของสารชนิดนี้ ปริมาณที่พบ 0.02-60.32 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ค่า Codex MRL 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า ชนิดสารที่ตรวจพบมากที่สุด 3 อันดับแรกจะเป็นชนิดเดียวกับที่ตกค้างเกินค่า MRL มากที่สุด 3 อันดับแรกเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังตรวจพบสารพิษตกค้างมากว่า 1 ชนิดขึ้นไปในตัวอย่างเดียวกันถึง 59.36 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่พบสารพิษทั้งหมด และพบร่วมกันสูงสุดถึง 4 ชนิด และในตัวอย่างพริกที่ตรวจพบสาารพิษตกค้างร่วมกันมากกว่า 1 ชนิดสาร จะพบสารเกินค่า MRL ทุกชนิดสารในตัวอย่างเดียวกันถึง 9 ตัวอย่าง ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมาก
จากผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ผลผลิตพริกจากแปลงเกษตรกรภายใต้โครงการนี้ที่จะยื่นขอรับรอง GAP ไม่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคถึง 43.23 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากตรวจพบสารพิษตกค้างเกินค่า MRL จึงส่งผลให้แปลงพริกไม่ผ่านการรับรอง และจากข้อมูลชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรไม่ได้ใช้สารเคมีตามคำแนะนำในฉลาก และยังพบการใช้สารร่วมกันหลายชนิด ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องควรเน้นการฝึกอบรมและเข้าไปตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกษตรกรใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตพริกปลอดภัยสารพิษตกค้างตามวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว
|