ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว (/showthread.php?tid=904) |
ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว - doa - 12-23-2015 ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว อารมณ์ โรจน์สุจิตร, อุไร จันทรประทิน, พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์ และบุญปิยะธิดา แคล่วคล่อง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, ศูนย์วิจัยยางสงขลา, ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา, ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โรครากขาวของยางพาราสาเหตุจากเชื้อรา Rigidoporus microporus เป็นโรคที่สำคัญที่สุด มีแพร่ระบาดทำความเสียหายแก่สวนยางทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกยางเดิมในภาคใต้ของประเทศไทย การใช้สารเคมีในการควบคุมโรครากของยางพาราถือว่าเป็นวิธีที่สะดวก ปฏิบัติได้ง่าย มีประสิทธิภาพรวดเร็ว และให้ผลดีกว่าวิธีการอื่น ซึ่งพบว่าสารเคมีที่แนะนำให้ใช้ป้องกันกำจัดโรครากขาวในปัจจุบันมีจำหน่ายในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้น้อยมาก แต่ในพื้นที่ปลูกยางภาคตะวันออกพบว่ามีจำหน่ายอยู่ทั่วไป สารเคมีที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น เบนโนมิล เมตาแลกซิล ไอโปรไดโอน ฟอสฟอริกแอซิด วาลิดามัยซิน และอีทาบอกแซม พบว่าไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและกำจัดเชื้อราโรครากขาว จึงศึกษาสารเคมีในกลุ่ม Triazole ชนิดที่ไม่อยู่ในคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางคือ triadimefon, microbutanil, triflumizole และกลุ่ม Imidazole คือ prochloraz เพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสเลือกใช้สารเคมีหลากหลายชนิดขึ้น จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการโดยวิธี poisoned food technique พบว่า สารเคมีเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและกำจัดเชื้อราโรครากขาวได้ 100% ที่ความเข้มข้น 100-1000 ppm. และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งและกำจัดเชื้อราโรครากน้ำตาลและรากแดงได้ 100% ที่ความเข้มข้นเพียง 10-100 ppm. เท่านั้น และจากการทดสอบสาร triadimefon, prochloraz และ cyproconazole กับต้นยางที่เป็นโรครากขาวในสภาพแปลงปลูกโดยให้สาร 2 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 6 เดือน พบว่า cyproconazole 500 ppm. triadimefon และ prochloraz 2,000 ppm. มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาต้นยางที่เป็นโรคได้ดีมาก ส่วนสารเคมีชนิดอื่นที่เหลือ เช่น microbutanil ควรศึกษาพัฒนาวิธีการใช้ในสภาพแปลงต่อไป เพื่อให้มีชนิดสารเคมีที่หลากหลายสำหรับแนะนำเกษตรกรต่อไป
|