คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศอินเดีย - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศอินเดีย (/showthread.php?tid=899)



การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศอินเดีย - doa - 12-23-2015

การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศอินเดีย
อลงกต โพธิ์ดี,สุคนธ์ทิพย์ สมบัติ, ณัฏฐพร อุทัยมงคล, วลัยกร รัตนเดชากุล และอดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

          ประเทศไทยมีการนำเข้าผลองุ่นสดปริมาณปีละ 26,924 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,463 ล้านบาท จากการศึกษารวบรวมข้อมูลศัตรูพืชในเบื้องต้นปรากฏว่า มีศัตรูพืชขอองุ่นทั้งสิ้นจำนวน 373 ชนิด และมีศัตรูพืชร้ายแรงหลายชนิดที่ยังไม่มีรายงานในประเทศไทย ซึ่งศัตรูพืชเหล่านี้มีโอกาสที่จะติดเข้ามากับผลองุ่นสดนำเข้าได้ ผลการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ยังไม่พบในประเทศไทย และมีโอกาสติดเข้ามากับผลองุ่นสดที่นำเข้าจากประเทศอินเดียจำนวน 13 ชนิด ได้แก่ แมลง 7 ชนิด (Trialeurodes vaporariorum, Macrosiphum euphorbiae, Ceroplastes rusci, Parthenolecanium corni, Mamestra brassicae, Xestia c-nigrum, Deilephila elpeno) ไร 2 ชนิด (Calepitrimerus vitis, Panonychus ulmi) และรา 4 ชนิด (Botryosphaeria obtusa, Coniella diplodiella, Eutypa armeniacae, Monilinia fructigena) ซึ่งต้องกำหนดให้มีการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับแมลงและไรศัตรูพืชกักกัน เช่น การรมด้วยสารเมธิลโบรไมด์ก่อนการส่งออก นอกจากนี้ศัตรูพืชกักกันอื่นควรมีมาตรการจัดการที่เหมาะสมในประเทศผู้ส่งออกเพื่อลดความเสี่ยงศัตรูพืชที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งต้องมีการตรวจผลองุ่นสดก่อนการส่งออกมายังประเทศไทยและรับรองลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืชว่าปลอดจากศัตรูพืชกักกัน