คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่องของสถาบันวิจัยพืชสวน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่องของสถาบันวิจัยพืชสวน (/showthread.php?tid=883)



การให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่องของสถาบันวิจัยพืชสวน - doa - 12-22-2015

การให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่องของสถาบันวิจัยพืชสวน
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

          สถาบันวิจัยพืชสวนเป็นองค์กรนำด้านพืชสวนของประเทศ นอกเหนือจากการดำเนินงานวิจัยสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกาารปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการผลิตพันธุ์พืชสวนต่างๆ แล้วสถาบันวิจัยพืชสวนยังให้การบริการวิชาการด้านพืชสวนแก่เกษตรกรและผู้สนใจอย่างต่อเนื่องผ่านทางช่องทางต่างๆ มาเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี จนนำมาสู่การจัดงานเผยแพร่ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านงาน "พืชสวนสร้างสรรค์ สารพันอาชีพ" ซึ่งสถาบันวิจัยพืชสวนได้จัดต่อเนื่องมาแล้ว 2 ครั้ง ในปี 2552 และ 2553 นอกจากการให้บริการวิชาการภายในประเทศแล้ว สถาบันวิจัยพืชสวนยังให้บริการในการจัดการฝึกอบรม และการศึกษาดูงานแก่บุคลากรของสมาชิกประชาคมอาเซียน และร่วมจัดประชุมวิชาการแก่องค์กรพืชสวนระหว่างประเทศ เช่น International Association of Horticultural Producers (AIPH), International Society of Horticultural Science (ISHS), International Tropical Fruits Network (TFNet) และ Asian and Pacific Coconut Community (APCC) เป็นต้น ผลของการจัดงาน "พืชสวนสร้างสรรค์ สารพันอาชีพ" ทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจทางวิชาการด้านพืชสวนเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ เช่น การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีต่างๆ การร้อยมาลัยดอกกล้วยไม้สด การทำดอกกล้วยไม้แห้งและผลิตภัณฑ์ การทำน้ำมันนวดจากสมุนไพรไทย การทำอาหาร ศิลปะการชงกาแฟและกาารปรุงกาแฟสูตรต่างๆ การกลั่นน้ำมันหอมระเหยระดับครัวเรือน การทำน้ำมันมะพร้าวและผลิตภัณฑ์จากน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น และจากการร่วมจัดการประชุมกับองค์กรระหว่างประเทศ และการจัดการฝึกอบรมให้แก่นักวิชาการของประเทศในประชาคมอาเซียนมีผลให้นักวิชาการของไทยมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กับนักวิชาการต่างประเทศในสาขาเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ผลไม้ไทยในรูปแบบต่างๆ ทั้งผลไม้สด แห้ง และผลิตภัณฑ์จากผลไม้ ได้เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านรูปแบบของการแกะสลักผักและผลไม้ตลอดจนงานจักสาน และการร้อยมาลัยดอกไม้แบบต่างๆ