คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตสำหรับพืชตระกูลกะหล่ำ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตสำหรับพืชตระกูลกะหล่ำ (/showthread.php?tid=877)



การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตสำหรับพืชตระกูลกะหล่ำ - doa - 12-22-2015

การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตสำหรับพืชตระกูลกะหล่ำ
สุปรานี มั่นหมาย, ธูปหอม พิเนตรเสถียร และภาวนา ลิกขนานนท์
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          เพื่อให้ได้จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตที่จะนำมาใช้ประโยชน์ด้านธาตุอาหารพืชฟอสฟอรัสสำหรับพืชตระกูลกะหล่ำ จึงทำการคัดเลือกจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตจากธรรมชาติและที่เก็บรวบรวมไว้จำนวน 500 ไอโซเลท ให้ได้จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตที่มีประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตในอาหารเลี้ยงเชื้อ และเหมาะสมสำหรับพืชตระกูลกะหล่ำ โดยทดสอบผลของจุลินทรีย์ต่อการงอกของเมล็ดพืชตระกูลกะหล่ำ คือ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดเขียว ผักกาดขาว และผักกาดหัว คัดเลือได้จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต 3 สายพันธุ์ คือ เชื้อราในจีนัส penicillium (RPS 003F) เชื้อแบคทีเรียในจีนัส Bacillus คือ (RPS 0034B) และเชื้อแบคทีเรียในจีนัส Pseudomonads (RPS 0018 B) จากนั้นศึกษาวิธีการผลิตจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตให้อยู่ในรูปปุ่ยชีวภาพ โดยศึกษาวิธีการเลี้ยงขยายจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตที่เหมาะสม ศึกษาหาวัสดุพาที่เหมาะสมสำหรับจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตแต่ละสายพันธุ์ เมื่อพิจารณาการมีชีวิตอยู่รอดของเชื้อในวัสดุพาที่ทดลอง และนำเอาปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตมาพิจารณาร่วมกันพบว่า ปุ๋ยหมักมูลวัวบดละเอียด และถ่านชีวภาพ เป็นวัสดุพาที่เหมาะสม จากนั้นนำปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตที่ผลิตได้มาทดสอบการมีชีวิตอยู่รอดของจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตทั้ง 3 สายพันธุ์ ในดินชุดต่างๆ ได้แก่ ชุดดินน้ำพอง ชุดดินหุบกะพง ชุดดินตาคลี และชุดดินเขาย้อย พบว่าจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตทั้ง 3 สายพันธุ์ ยังคงมีชีวิตอยู่รอดถึงระยะเวลา 12 เดือน โดยจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตชนิดรามีจำนวนอยู่ระหว่าง 10(4) - 10(5) โคโลนีต่อกรัมดิน จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตชนิดแบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์ มีจำนวนอยู่ระหว่าง 10(5) - 10(6) โคโลนีต่อกรัมดิน การทดสอบประสิทะภาพปุ๋ยละละลายฟอสเฟตที่ผลิตได้ในสภาพกระถางทดลองกับคะน้าและกวางตุ้ง โดยวิธีคลุกเมล็ดก่อนปลูก และวิธีรองก้นหลุม ผลการทดลองพบว่า ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตทั้ง 3 สายพันธุ์ ทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้า และกวางตุ้ง สูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต และเทียบเท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ