คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การใช้ปุ๋ยเคมี ชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ วัสดุอินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ สารปรับปรุงดิน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การใช้ปุ๋ยเคมี ชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ วัสดุอินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ สารปรับปรุงดิน (/showthread.php?tid=876)



การใช้ปุ๋ยเคมี ชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ วัสดุอินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ สารปรับปรุงดิน - doa - 12-22-2015

การใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ วัสดุอินทรีย์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ และสารปรับปรุงดิน เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตพริก
สุปรานี มั่นหมาย, ภาวนา ลิกขนานนท์, วิทยา ธนานุสนธิ์, ลาวัณย์ จันทร์อัมพร และพรทิพย์ แพงจันทร์
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ หัวเชื้อจุลินทรีย์ และวัสดุอินทรีย์เหลือใช้จากการเกษตรในการผลิตพริก ดำเนินการทดลองทั้งในสภาพเรือนทดลอง สภาพไร่ และไร่นาเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานในการผลิตพริกสภาพเรือนทดลอง ดำเนินการทดลองในปี 2552 โดยการใช้ปุ๋ยชนิดต่างๆ ร่วมกันคือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักมูลโค) ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต) และหัวเชื้อจุลินทรีย์ (Trichoderma sp.) ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในพริกพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักมูลโค และปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตเพาะเมล็ด และรองก้นหลุม ไม่แตกต่างทางสถิติจาการใช้ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์เพียงอย่างเดียว การทดลองในสภาพไร่ ในปี 2552 จำนวน 2 แปลง พบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักมูลโค หัวเชื้อจุลินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ทำให้อัตราการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าน้อยกว่าการไม่ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ การทดลองในสภาพไร่นาเกษตรในปี 2553 พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักมูลโค และปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ในแปลงของเกษตรกรรายที่ 1 ให้ผลผลิตพริกเฉลี่ยเท่ากับ 2,985 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่ากรรมวิธีของเกษตรกร ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 2,125 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนในแปลงของเกษตรกรรายที่ 2 การใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักมูลโค และปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ให้ผลผลิตเท่ากับ 2,530 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่ากรรมวิธีของเกษตรกรที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 2,005 กิโลกรัมต่อไร่