คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาโรคและการจัดการโรคกล้วยไม้สกุลสปาโตกลอททิส และสกุลแกมมาโตฟิลลัม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ศึกษาโรคและการจัดการโรคกล้วยไม้สกุลสปาโตกลอททิส และสกุลแกมมาโตฟิลลัม (/showthread.php?tid=862)



ศึกษาโรคและการจัดการโรคกล้วยไม้สกุลสปาโตกลอททิส และสกุลแกมมาโตฟิลลัม - doa - 12-22-2015

ศึกษาโรคและการจัดการโรคกล้วยไม้สกุลสปาโตกลอททิส และสกุลแกมมาโตฟิลลัม
สุพัตรา อินทวิมลศรี
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          กล้วยไม้สกุล Spathoglostis (เอื้องดินใบหมากและลูกผสมต่าง ๆ) และสกุล Gramatophyllum (เพชรหึงหรือหางช้าง) อยู่ในกลุ่มของกล้วยไม้ดินซึ่งปลูกเป็นไม้กระถางหรือปลูกลงดิน มีวัสดุปลูก และรากใกล้ชิดกับดินทำให้เชื้อราที่อยู่ในดินเข้าทำลายได้ง่าย จากการศึกษาพบว่า เชื้อรา Sclerothium เข้าทำลายกล้วยไม้ทั้ง 2 สกุลดังกล่าว ที่แหล่งปลูก จ.นครปฐม และสมุทรสาคร เชื้อรา Phytopthtora เข้าทำลายกล้วยไม้ spathoglostis โรคใบจุด เชื้อรา Collctotrium พบที่ จ.สมุทรสาคร จ.นครปฐม จ.เพชรบุรี และนนทบุรี

          การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเชื้อราในห้องปฏิบัติการพบว่า สาร ipodione, etridiazole ให้ผลในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Sclerotium ได้ดี ส่วนสาร metalaxyl และ phosphorous acid ให้ผลยับยั้งเส้นใยเชื้อรา Phytopthtora ได้ดี การทดสอบประสิทธิภาพในโรงเรือนกล้วยไม้ของเกษตรกร จ.นครปฐม กับกล้วยไม้ Spathoglostis ที่เป็นโรคหัวเน่า รากเน่า ต้นเน่า คัดแยกหัวพันธุ์ที่ยังดีออกจากต้นที่มีปัญหา จุ่มสารละลายของสารป้องกันกำจัดเชื้อรา 4 ชนิด ได้แก่ ipodione, etridiazole, metalaxyl และ etridiazole แล้วนำไปปลูกในกระถางใหม่พบว่า etridiazole มีผลข้างเคียงกับหัวพันธุ์กล้วยไม้ และหลังการปลูกหัวพันธุ์ได้ 1 เดือน จึงใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มา (เชื้อสด) 20 กรัมต่อกระถาง 2 ครั้ง ต้นกล้วยไม้อยู่ในระยะเจริญเติบโต

          สำหรับกล้วยไม้สกุล Gramatophyllum ที่เป็นโรคจากการทำลายเชื้อ Sclerotium ได้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค เผ่าทำลายแล้วเปลี่ยนที่อยู่ใหม่โดยให้มีแสงแดดเพิ่มขึ้น และพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา 2 ครั้ง ขณะต้นกล้วยไม้ไม่มีการทำลายของโรคเลย