คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาสาเหตุและเทคโนโลยีการจัดการโรคผลเน่าของส้มโอ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ศึกษาสาเหตุและเทคโนโลยีการจัดการโรคผลเน่าของส้มโอ (/showthread.php?tid=860)



ศึกษาสาเหตุและเทคโนโลยีการจัดการโรคผลเน่าของส้มโอ - doa - 12-22-2015

ศึกษาสาเหตุและเทคโนโลยีการจัดการโรคผลเน่าของส้มโอ
สุพัตรา อินทวิมลศร
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          โรคผลเน่าของส้มโอเป็นโรคใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีรายงานและการวิจัยมาก่อน พบครั้งแรกในปี 2546 ที่สวนส้มโอ อ.เขาสมิง จ.ตราด 2 สวน เกษตรกรยังไม่เคยรู้จักโรคนี้มาก่อน และยังมีการระบาดต่อเนื่องทุก ๆ ปี แล้วยังพบการระบาดที่ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม จากการเก็บตัวอย่างโรคศึกษาแยกเชื้อในอาหาร PDA โดยวิธี Tissue Transplanting ได้เชื้อบริสุทธิ์จำแนกชนิดแล้วพบว่า เป็นเชื้อรา Geotrichum candidum ทั้งหมด และได้พิสูจน์โรคกับผลส้มโอแล้วพบว่าเป็นสาเหตุของโรคจริง จากการทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเชื้อรา 18 ชนิด ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา G. candidum พบว่า สารป้องกันกำจัดเชื้อรา คาลิกซิน 75% EC, อัลโต 10% SL, ซีสเทน–อี 12.5% EC, แมนโคเซ็ป 80% WP ให้ผลการควบคุมการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคดี การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเชื้อรา 3 ชนิด ได้แก่ คาลิกซิน, อัลโต และซินเทน–อี ในการควบคุมโรคผลเน่าของส้มโอในสภาพไร่พบว่า คาลิกซินให้ผลการควบคุมโรคดีที่สุด