คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอมจากเซลล์เพาะเลี้ยง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอมจากเซลล์เพาะเลี้ยง (/showthread.php?tid=858)



การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอมจากเซลล์เพาะเลี้ยง - doa - 12-22-2015

การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอมจากเซลล์เพาะเลี้ยง
สุชลวัจน์ ว่องไวลิขิต, สาทิพย์ มาลี และเสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอมจากเซลล์เพาะเลี้ยง ณ ห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือนกันยายน 2553 การทดสอบผลกระทบสารผสมผลึกไวรัสจากเซลล์พบว่า สารผสมชนิด E ที่อัตรา 10 - 70% ไม่มีผลต่อผลึกไวรัสสารผสมชนิด N อัตรา 1 M มีผลทำให้ผลึกไวรัสละลายภายใน 2 ชั่วโมง ความเข้มข้นผลึกไวรัส 10(8) – 10(9) ผลึก ทดสอบผลกระทบสารผสมต่อใบถั่วเขียวในห้องปฏิบัติการพบว่า สารผสมชนิด E อัตรา 10 - 20% ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของใบพืชแต่สารผสมชนิด N อัตราต่ำสุด 0.1 M ทำให้ใบพืชเหี่ยว และทดสอบคุณสมบัติการเพิ่มประสิทธิภาพของสารผสมชนิด E กับหนอนกระทู้ผักพบว่า สารผสมชนิด E อัตรา 10 - 20% ทำให้หนอนวัย 1 และ 3 ตายเฉลี่ย 47.5 - 67.5% สารผสมชนิด N อัตราต่ำสุด 0.1 M ไม่มีผลต่อหนอน และทดสอบไวรัส SeMNPV ที่ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการกับหนอนกระทู้หอมวัยที่ 3 เปรียบเทียบกับน้ำกลั่นพบว่า ไวรัส SeMNPV ที่ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงอัตราความเข้มข้น 3 x 10(6) ผลึก/มล. ปริมาตร 10 µl/ถ้วยอาหารเทียมขนาด 2 ออนซ์/หนอน 1 ตัว ทำให้หนอนกระทู้หอมตายเฉลี่ย 93.33% ภายใน 7 วันหลังจากหนอนกินผลึกไวรัส ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพในแปลงทดลองในแปลงผักคะน้าพบว่า กรรมวิธีที่ 2 - 6 มีจำนวนหนอนกระทู้หอมลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนหนอนกระทู้หอมที่พบก่อนพ่น 5 วัน และเมื่อวิเคราะห์ผลทางสถิติพบว่า กรรมวิธีที่ 2 - 6 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ วิเคราะห์โดยวิธี DMRT