คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การคัดเลือกพันธุ์พริกขี้หนูผลสดที่ตอบสนองต่อการปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การคัดเลือกพันธุ์พริกขี้หนูผลสดที่ตอบสนองต่อการปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ (/showthread.php?tid=853)



การคัดเลือกพันธุ์พริกขี้หนูผลสดที่ตอบสนองต่อการปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ - doa - 12-22-2015

การคัดเลือกพันธุ์พริกขี้หนูผลสดที่ตอบสนองต่อการปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์
สิริชัย สาธุวิจารณ์, จิราภา ออสติน,พิมพ์นภา ขุนพิลึก,สุภาพร สุขโต,ทิพย์ดรุณี สิทธินาม,เสาวนี เขตสกุล,สิทธิศักดิ์ แสไพศาล, วานิช คำพานิช, กาญจนา วาระวิชนี, วิมลวรรณ โชติวงศ์, ภัทรพร สรรพนุเคราะห์, ศฬิษา สังวิเศษ, รัฐกร สืบมา, วิมลวรรณ วัฒนวิจิตร, สุรีย์พร บัวอาจ, อิสริยะ สืบพันธุ์ดีและสุพัตรา ชาวกงจักร์
สอพ., ศวส.ศรีสะเกษ, ศวร.เชียงใหม่, ศวพ.เลย, ศวพ.กาญจนบุรี, สปผ., สวป. และศวพ.กาฬสินธุ์

          การคัดเลือกพันธุ์พริกขี้หนูผลสดที่ตอบสนองต่อการปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อคัดเลือกพันธุ์พริกขี้หนูรับประทานผลสดที่สามารถให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตดีในระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี จำนวน 4 แปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ มี 14 กรรมวิธี ได้แก่ พริกจินดาเลย พริกจินดา พริกยอดสน พริกห้วยสีทน พริกไชยปราการ พริกหัวเรือเบอร์ 13 พริกซุปเปอร์ฮอท พริกแชมป์เปี้ยนฮอท 44 พริกสยามฮ็อท พริกชิวาลรี T1698 พริกเรดฮอด TA100 พริกรสแซบ T2007 พริกจินดา 877 และพริกวโรรส ผลการทดลองพบว่า ในเบื้องต้นพริกขี้หนูแต่ละพันธุ์ที่นำมาปลูกทดสอบในระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ มีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน โดยแต่ละพื้นที่การเจริญเติบโตของพันธุ์พริกขี้หนูมีความแตกต่างกันด้วย ปัญหาที่พบในการทดลองคือ เมล็ดพันธุ์พริกบางพันธุ์ความงอกต่ำ การเริ่มการทดลองที่ล่าช้าทำให้ช่วงแรกของการปลูกพริกประสบปัญหากับปริมาณฝนที่ตกชุก และเมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2553 โครงการวิจัยมีความก้าวหน้าประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ จึงได้ขออนุมัติขยายเวลาโครงการและของบประมาณการวิจัยจากกรมวิชาการเกษตรในปีงบประมาณ 2554 ซึ่งการทำงานโครงการวิจัยนี้ ทำให้นักวิชาการเกษตรรุ่นใหม่ของกรมวิชาการเกษตรได้ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ โดยนำความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขามาร่วมกันทำงานวิจัยอย่างเป็นระบบ เรียนรู้และแก้ปัญหาจากการฝึกปฏิบัติจริง โดยได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากนักวิจัยรุ่นพี่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน