คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และเขตการแพร่ระบาดของหนอนแมลงวันเซียริด แมลงศัตรูเห็ด - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และเขตการแพร่ระบาดของหนอนแมลงวันเซียริด แมลงศัตรูเห็ด (/showthread.php?tid=847)



การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และเขตการแพร่ระบาดของหนอนแมลงวันเซียริด แมลงศัตรูเห็ด - doa - 12-21-2015

การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และเขตการแพร่ระบาดของหนอนแมลงวันเซียริด แมลงศัตรูเห็ดที่สำคัญ
สัญญาณี ศรีคชา, อุราพร หนูนารถ และเทวินทร์ กลุปิยะวัฒน์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และเขตการแพร่ระบาดของหนอนแมลงวันเซียริค แมลงศัตรูเห็ดที่สำคัญ จากการสำรวจและเก็บรวบรวมแมลงวันเซียริคจากโรงเพาะเห็ดเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี ชลบุรี และระยอง พบหนอนแมลงวันเซียริค Lycoriella sp. ลงทำลายเห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดนางนวล และเห็ดฮังการี จากการศึกษาวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันเชียริด (Lycoriella sp.; Dipterra : Sciaridae) ในห้องปฏิบัติการกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 25.61+0.62 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย 92.00+0.25 เปอร์เซ็นต์ พบว่าตัวเต็มวัยมีอายุ 18 - 20 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียหลังฟักออกจากดักแด้แล้ว 1 วัน จึงเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ ระยะไข่ 3 - 4 วัน หนอนมี 4 วัย ระยะหนอน 12 - 13 วัน ระยะดักแด้ 3 - 5 วัน ตลอดวงจรชีวิต 18 - 22 วัน จากการศึกษานิเวศวิทยาบนก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าพบว่า หนอนวัยที่ 3 มีอัตราการตายสูงที่สุด คือ 20.29% รองลงมาเป็นหนอนวัยที่ 1 ระยะไข่ ระยะดักแด้ หนอนวัยที่ 4 และหนอนวัยที่ 2 คือ 15.29, 15.00, 12.00, 9.09 และ 4.17% ตามลำดับ