การประเมินระบบประมูลยางอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดกลางยางพารา - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การประเมินระบบประมูลยางอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดกลางยางพารา (/showthread.php?tid=827) |
การประเมินระบบประมูลยางอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดกลางยางพารา - doa - 12-21-2015 การประเมินระบบประมูลยางอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดกลางยางพารา สมมาต แสงประดับ, สมจิตต์ ศิขรินมาศ, รณชัย ดาวดวง, เพทาย กาญจนเกษร และอธิวีย์ แดงกนิษฐ์ สำนักงานตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี, สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา, สำนักงานตลาดกลางยางพาราบุรีรัมย์ และสำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช สถาบันวิจัยยาง การประเมินผลระบบประมูลยางอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดกลางยางพารามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการประมูลยางอิเล็กทรอนิคส์รูปแบบต่างๆ ประเมินผลศักยภาพของตลาดกลางในด้านพื้นที่ให้บริการ อุปกรณ์ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและเทคโนโลยีของระบบประมูลอิเล็กทรอนิคส์ของตลาดกลางยางพารา ข้อจำกัด และความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลโดยใช้จากแบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้ประมูลในตลาดกลางยางพาราในภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเจ้าหน้าที่ ทั้งหมด 38 ราย และข้อมูลทุติยภูมิจากสถิติผลการประมูลจากตลาดกลางในภาคดังกล่าวการศึกษาใช้วิเคราะห์เชิงปริมาณ หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ อัตราการกระจุกตัวของปริมาณยาง การส่งผ่านราคาระหว่างตลาด โดยแบบจำลองของ Engel and Granger และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพบรรยายสภาพทั่วไปของระบบตลาดกลางเปรียบเทียบระบบประมูลตลาดกลางในต่างประเทศกับตลาดกลางยางพาราของไทย
ผลการศึกษาพบว่า ระบบประมูลอิเล็กทรอนิคส์ที่ใช้ประมูลยางในตลาดกลางอินเดียเหมาะสมกับการซื้อ-ขายปริมาณยางน้อย โดยมีการแยกสถานที่ประมูลออกจากสถานที่ส่งมอบสินค้า ส่วนระบบประมูลทางไกลตลาดไม้ดอกของเนเธอร์แลนด์กับตลาดกลางค้าส่งญี่ปุ่นสามารถประมูลสินค้าจำนวนมากได้แต่ต้องนำสินค้าเข้าตลาดกลาง เปรียบเทียบกับการประมูลตลาดกลางอิเล็กทรอนิคส์ของตลาดกลางยางพาราของไทยที่มีการประมูลใน 3 ตลาดกลางในภาคใต้สามารถประมูลสินค้ายางได้จำนวนมาก และสะดวกต่อผู้ซื้อยางทุกภูมิภาคที่เข้าใช้บริการตลาดกลางยางพารา ผลการศึกษาโครงสร้างอัตราการกระจุกตัวของตลาดกลางพบว่า โครงสร้างตลาดเป็นลักษณะผู้ซื้อน้อยรายแต่ระบบประมูลทำให้ระบบราคามีการแข่งขัน เมื่อพิจารณาการส่งผ่านราคายางของ 3 ตลาดในภาคใต้ราคามีความเชื่อมโยงและมีอิทธิพลต่อตลาดกลางที่อยู่ใกล้กันมากกว่าตลาดที่ตั้งห่างไกลออกไป
สภาพทั่วไปของผู้ประมูลในภาคใต้เป็นผู้ส่งออกยางมากกว่าตัวแทนประมูลและเป็นธุรกิจยางแผ่นรมควันซึ่งมีการเข้าใช้บริการมากเดือนละ 16 - 21 ครั้ง ข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาดคือ เงินหมุนเวียนและการจัดการส่งสินค้าแต่ส่วนใหญ่ไม่มีข้อจำกัด ทำให้ผู้ประมูลไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนราคาตามเงื่อนไขต่างๆ ส่วนผู้เข้าประมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ตัวแทนเข้าประมูลมีข้อจำกัดในการเข้าประมูลในตลาดกลางคือ ด้านระยะทางกับเงินทุน ทำให้ผู้ประมูลต้องปรับเปลี่ยนราคาตามเงื่อนไขต่างๆ โครงสร้างตลาดของผู้ซื้อระดับโรงงานเป็นตลาดผู้ซื้อน้อยรายจึงนำกลยุทธ์ 3P เว้นแต่ด้านราคามาใช้
การประเมินค่าเฉลี่ยศักยภาพของระบบประมูลอิเล็กทรอนิคส์พบว่า ศักยภาพในด้านการใช้ระบบประมูลอิเล็กทรอนิคส์ของตลาดกลางของผู้ประมูลในภาคใต้มีศักยภาพด้านพื้นที่สูงกว่าผู้ประมูลภาคตะวันออก ส่วนศักยภาพด้านเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ ระบบเทคโนโลยีและศักยภาพด้านนโยบายของผู้ประมูลภาคตะวันออกสูงกว่าภาคใต้ ผลการประเมินในรายตัวชี้วัดในภาพรวมทั้ง 2 ภาคที่มีการใช้ระบบประมูลอิเล็กทรอนิคส์แล้วมีค่าอยู่ในระดับสูงทุกตัวชี้วัด
|