ศึกษาการสลายตัวและการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนของแหนแดงในดินสภาพต่างๆ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: ศึกษาการสลายตัวและการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนของแหนแดงในดินสภาพต่างๆ (/showthread.php?tid=809) |
ศึกษาการสลายตัวและการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนของแหนแดงในดินสภาพต่างๆ - doa - 12-21-2015 ศึกษาการสลายตัวและการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนของแหนแดงในดินสภาพต่างๆ ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต และประไพ ทองระอา กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร แหนแดงเป็นปุ๋ยชีวภาพชนิดหนึ่งซึ่งถูกนำมาใช้ในรูปของปุ๋ยพืชสด สามารถขยายตัวได้รวดเร็ว ให้ผลผลิตเป็นปุ๋ยพืชสด 3 ตันต่อไร่ และตรึงไนโตรเจนได้สูงถึง 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ การศึกษาการปลดปล่อยไนโตรเจนของแหนแดงในดินสองลักษณะคือ ชุดดินตาคลีตัวแทนดินขังน้ำ และชุดดินร้อยเอ็ดตัวแทนดินไร่ เพื่อเป็นข้อมูลในการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยบ่มดินร่วมกับแหนแดงในห้องปฏิบัติการของกลุ่มงานวิจัยจุลินทรย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา พบว่าชุดดินตาคลี มีการปลดปล่อยแอมโมเนียสูงสุดในวันที่ 14 มีปริมาณเท่ากับ 3,013 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนในชุดดินร้อยเอ็ดมีการปลดปล่อยสูงสุดในวันที่ 21 มีปริมาณเท่ากับ 4,949 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับปริมาณการปลดปล่อยไนเตรทของทั้ง 2 ชุดดิน พบว่ามีแนวโน้มเช่นเดียวกับการปลดปล่อยแอมโมเนียม โดยในชุดดินร้อยเอ็ดมีการปลดปล่อยสูงสุดในวันที่ 21 มีปริมาณเท่ากับ 4,529 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเมื่อนับปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดพบว่า ชุดดินตาคลีมีปริมาณเชื้อแบคทีเรียเท่ากับ 1.9 X 10(6) cfu/มิลลิลิตร ในขณะที่ชุดดินร้อยเอ็ดมีปริมาณเชื้อแบคทีเรียเท่ากับ 1.8 X 10(5) cfu/มิลลิลิตร
|